สวัสดี ชาวโอเวอร์คล๊อกโซนกันทุกท่าน เพิ่งผ่านปีใหม่มาไม่กี่วันเผลอแป๊ปเดียวก็เข้าใกล้วันปีใหม่ของไทยที่หลายๆ คนคงจะ ชอบกันเพราะว่าได้ออกไปสาดน้ำให้รู้สึกเย็นชื่นไปกันได้บ้างครับ วันนี้สิ่งที่ผมจะพามาพบเจอกันชาวโอเวอร์คล๊อกโซนที่ จะเป็นอยู่ใน ส่วนของ Sound System ที่นานนั้นจะมีอะไรมานำเสนอซักที ก็อันเนื่องมาจากอุปกรณ์ทางด้านเสียงนั้นไม่ใช่ว่าจะเป็นของที่จะมา เปลี่ยนกันได้บ่อยๆเหมือนของอื่นๆ ซึ่งวันนี้เราจะได้มาพบเจอกับ ASUS Xonar Essence One ที่จะเป็น DAC และแอมป์หูฟัง ในตัวด้วยกัน โดยการวางตลาดนั้นจะเน้นไปทางกลุ่มผู้ฟังเพลงที่เน้นไปในด้าน audiophile โดยใน Xonar Essence One ได้ คัดสรรค์อุปกรณ์ชั้นนำที่มีคุณภาพสูงสุดกับอุปกรณ์ทางด้านเสียง ที่การออกแบบของ Xonar Essence One เป็น USB DAC ของโลกที่สามารถทำการ Upsamples ได้สูงถึง 8 เท่า เพื่อประสบการณ์ของดิจิตอลมิวสิกแบบสเตริโอแบบที่สุดตามหูของคนฟัง ด้วยการรองรับการเปลี่ยน OP-Amp ที่ 11 จุด เพื่อให้เสียงที่ออกมานั้นได้บุคลิกเสียงที่ถูกหูของผู้ใช้งานมากที่สุด ASUS Xonar Essence One สเป็คหลักๆแล้วที่ดูก็มันเป็น USB DAC Hi-end อีกตัวนึงในตลาดที่ออกมารองรับ ผู้ที่ชื่นชอบการฟังเพลงผ่านทางหูฟังด้วยอีกทางนึง ซึ่งตามสเป็คแล้วมันจะมีค่า SNR ที่สูงถึง 120 dB ทำให้เสียงที่ออกมานั้นใสได้ รับรายละเอียดของเสียงอย่างเต็มที่แล้วยังมีเสียงรบกวนที่น้อยมาก ทางด้านของแอมป์หูฟังที่รองรับการขับหูฟังได้สูงสุด 600 โอม จะ เป็นหูฟังที่ขับออกยากๆ ASUS Xonar Essence One ก็สามารถขับพลังเสียงให้ออกมาได้อย่างเต็มที่ไม่อายใครกัน ส่วนในเรื่อง ของความน่าสนใจอื่นๆนั้น ก็ตามมาดูกันว่า ASUS Xonar Essence One จะมีความน่าสนใจที่อยากจะรีบควักเงินซื้อมาแค่ไหน
ตัว แพ็คเกจที่ออกแบบมาโทนสีดำตัดกับสีทอง สไตล์ Xonar ในโมเดลระดับ Hi-End ของในกล่องผมไม่ขอถ่ายรูปมาให้ชม เนื่องจาก ตัวที่ผมได้มานั้นมันเป็นตัวที่ ASUS ใช้ออกงานและส่งสื่อไปทดสอบบ้างแล้ว ของในกล่องอาจมีหล่นหายไปเยอะ ถ้าเทียบกับตอนที่ผม ได้เห็น ASUS Xonar Essence One วันแรกๆที่มันมาถึงสำนักงานเอซุสประเทศไทย - Driver CD x 1 - 6.3mm to 3.5mm stereo adapter x 1 - Audio Precision (AP) test report x 1 - User manual x 1 - USB cable x 1 - Power cord x 1
รูป ลักษณ์ภายนอกที่ดูแล้วว่ามันก็เป็น DAC หรืออุปกรณ์สำหรับเรื่องระบบเสียงได้อย่างชัดเจนเป็นอย่างยิ่ง บอดี้ภายนอกรอบตัวมัน ทำมาจากอลูมิเนียมพ่นทราบแบบเนื้อละเอียด มีเพียงหน้ากากด้านหน้าที่เป็นการขัดลายชุบสีดำ เพื่อให้เห็นความแตกต่างและดูดีมาก ขึ้นสำหรับด้านหน้าของตัว DAC ด้านบน(หลังคา) ที่มีการสกรีนลายโลโก้ Xonar สีทองเอาไว้ให้ดูโดดเด่นสวยงามมายิ่งขึ้นครับ
การควบคุมต่างของการทำงานนั้นจะอยู่ด้านหน้าทั้งหมด ปุ่มต่างๆจะใช้เป็นสีเงิน เพื่อให้ตัดกับบอดี้หลักของตัวเครื่องที่เป็นสีดำครับ - ปุ่มพาววอร์ด ที่จะมีวงแหวนไฟ LED สีฟ้าเพื่อแสดงสถานะการทำงานของตัวเครื่อง - ปุ่ม Upsamples เมื่อฟังก์ชั่นนี้ทำงานแล้วจะมีไฟ LED สีฟ้าแสดงด้านข้าง - ปุ่มเลือก Input ระหว่าง Coaxial, Toslink และ USB ที่จะมีไฟ LED สีฟ้าแสดงว่าตอนนี้ตัว DAC กำลัง Input จากทางไหน - ปุ่ม Mute ที่คงทราบกันดีอยู่แล้ว่ามันคือให้เสียงเงียบชั่วขณะนั้นๆ โดยเมื่อสั่ง Mute แล้วไฟที่ Input จะแสดงเป็นสีแดงครับ - ลูกบิดระดับเสียงของการปล่อยสัญญาณทาง RCA และ Balanced Output ที่เอาไว้ปรับระดับเสียงแทน Pre Amp ได้ - ลูกบิดระดับเสียงของช่องหูฟัง ที่จะแยกการทำงานออกจากระดับเสียงหลัก - แจ็คหูฟังขนาด 6.3 mm ถ้าใช้หูฟังขนาด 3.5 mm ในกล่องขายจริงก็มีตัวแปลงขนาดให้ ถ้าไม่มีก็ซื้อเอาไม่กี่บาทเอง
พอร์ตการเชื่อมต่อด้านหลัง ถ้ามองแล้วอาจะดูว่ามันเป็นอุปกรณ์เครื่องเสียงก็ได้ นี่มันยังมีพอร์ต USB เลยยังใช้กับเครื่องคอมได้ครับ - RCA Stereo Output - Balanced Output - Digital S/PDIF Input - Coaxial - Digital S/PDIF Input - Toslink - USB 2.0 Input - IEC Socket (power ac in)
เมื่อ เห็นภาพข้างในเต็มๆ ถ้าผมบอกว่าทางเอซุสนั้นได้คัดเลือกอุปกรณ์ชั้นเลิศเข้ามาใส่ข้างใน คงจะมีคนส่วนมากนั้นจะเห็นด้วยกับ คำพูดของผมนะ ถ้ามองแบบผ่านๆแล้วนั้นน่าจะเข้าใจถึงคามสลับซับซ้อนของการออกแบบวงจรข้างใน ของมันได้เป็นอย่างดีครับ
ในส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายที่จะเห็นเด่นชัดว่ามีการใช้หม้อแปลงไฟแบบเทอร์รอยด์ คาปาซิเตอร์ในส่วนนี้ใช้ Nichicon HE Series ที่ดูภาพรวมของพาเวอร์ซัพพลายที่ออกแบบมาได้ค่อนข้างดีมากแล้วรวมไปถึงการ เก็บงานที่ทำออกมาได้สวยงามเรียบร้อย
มา ถึงแผ่น PCB ในฝั่งของระบบเสียง ที่จะถูกแยกออกจากพาเวอร์ซัพพลายแบบขาดกันไปเลย การแบ่งส่วนการทำงานที่มองแล้วจะ เห็นได้ว่ามันมีความละเอียดซับซ้อนมาก ในส่วนเรื่องของชิพอะไรนั้นมีน่าที่อะไรเดี๋ยวผมจะสรุปให้ได้อย่างกันอีก ครั้งดีกว่าครับ
OP-AMP ทั้งหมดที่ใช้บน Xonar Essence One จะมีทั้งหมด 11 ตัว ตามแผนผังในภาพแล้วจะแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆ คือ หมายเลข 1 และ 2 จะถูกติดตั้ง Texas Instruments NE5532P แล้วในส่วนของหมายเลข 3 และ 4 ถูกติดตั้ง National Semiconductor LM4562NA มาให้จากโรงงาน ซึ่งในแต่ละเบอร์สามมรถเปลี่ยน OP-AMP แบบ Dual ได้ตามใจชอบครับ โดยในส่วนของเบอร์ 3A,3B และ 4 ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนให้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าอยากให้บุคลิกเสียงที่ออกมานั้นจะเป็นแบบ ไหนครับ ถ้าคิดไม่ออกว่าจะเปลี่ยน OP-AMP เบอร์ไหนดี ก็ลองดูตามคำแนะนำของ ASUS ได้ว่าเบอร์ไหนเปลี่ยนตรงไหนแล้วเสียง ที่ออกมาจะเป็นบุคลิกแบบไหน จะได้ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยนให้เปลืองมาก แต่ถ้าจะเปลี่ยนเบอร์ดีๆแพงๆทุกจุด คงมีกินมาม่าได้เป็นเดือน
ในส่วนของแอมป์หูฟังถึงแม้จะวางอยู่บนแผ่น PCB เดียวกับแผ่นหลัก แต่การทำงานของมันนั้นถูกแบบส่วนออกไปอย่างชัดเจน
ในแต่ละ Output จะมีรีเลย์ NEC UC 2-4 ที่เอซุสชอบใช้ในการ์ดเสียง Xonar มาทำหน้าที่จัดการในส่วนนี้ครับ
C-Media CM6631 High-Definition Sound Processor up to 192Khz/32bit (USB 2.0)
AKM AK4113VF 24-bit stereo digital receiver up to 192Khz/24bit (Coaxial and Optical)
Analog Devices ADSP-21261 DSP 32bit 150mhz
Burr Brown PCM1795 D/A converters (123dB SNR, Max. 192kHz/32bit)
Relay NEC UC 2-4
National Semiconductor LM4562NA Dual High Performance, High Fidelity Audio Amplifier
Texas Instruments NE5532P Dual Low-Noise Operational Amplifier
WIMA film capacitor
Nichicon Capacitors Audio KT(M) Series
หลัก การทำงานคร่าวๆที่ผมเดาเอาจากการส่องดูลายบนแผ่น PCB นะครับ ถูกผิดยังไงก็อภัยด้วย เริ่มต้นตัวรับสัญญาณ เสียงดิจิตอลทางพอร์ต USB จะเป็นหน้าที่ของชิพ C-Media CM6631 หรือทางพอร์ต Coaxial และ Optical จะเป็นหน้าที่ ของตัวชิพ AKM AK4113VF หลังจากที่ได้รับสัญญาณเสียงแบบดิจิตอลเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะส่งต่อให้ชิพ Analog Devices ADSP-21261 เป็นตัว Upsamples สัญญาณเสียง (ถ้าไม่อัพก็คงแค่วิ่งผ่าน) ตัวหัวใจหลักในการแปลงสัญญาณเสียงดิจิตอลก็ ยังคงเป็น Burr Brown PCM1795 D/A converters ที่จะมีชิพสำหรับแปลงสัญญาณเสียงของด้านซ้ายและด้านขวาแยกกัน ออกไป เพื่อคุณภาพเสียงที่ดีที่สุดครับ หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ OP-AMP NE5532P (ตามเผนผังก็เบอร์ 1) ถัดมาก็จะเข้าสู่ OP-AMP NE5532P (ตามเผนผังก็เบอร์ 2) เพื่อจัดการเสียงรบกวนอีกชั้น สุดท้ายจะเป็นหน้าที่ของ OP-AMP LM4562NA ใน แต่ละจุด Output สัญญาณเสียงที่ผู้ใช้นั้นได้ใช้งานมันอยู่ (ตามเผนผังเป็นเบอร์ 3 หรือ 4)
ไฟล์เพลงเป็น Lossless ที่ Rip มาจาก CD เป็นหลัก โดยเริ่มต้นผมจะเขียนหัวข้อ Coaxial เน้นหนักที่สุด แล้วหัวข้ออื่นๆ จะเขียนแบบหักล้างเอาครับ ก่อนที่จะเริ่มต้นจริงๆ ผมต้องบอกก่อนว่าผมไม่ได้นักเขียนบทความด้านเครื่องเสียงอะไรทั้งนั้น คำศัพท์ ที่ใช้นั้นก็เอาเป็นแบบภาษาบ้านๆที่ผมเข้าใจง่ายละกัน - Int Amp NAD C315BEE + Speaker From Microlab PRO1 - Int Amp NAD C316BEE + Speaker B&W 685 - Int Amp NAD M3 + Speaker B&W 805D - Int Amp NAD 3020i + Speaker B&W 805S - Bose M2 - Sennheiser PC 350 Xense Edition headset - Tt eSPORTS - Shock - Earbud OPPO PK2.5
ทาง ด้านความถี่ย่านเสียงสูง ที่เป็นในส่วนของรายละเอียดต่างๆของเครื่องคนตรี ถ้าพูดถึงเรื่องของความใสเนี่ยมันใสจนผม ไม่รู้จะพูดออกอธิบายยังไงดีแล้วครับ การแสดงออกถึงรายละเอียดยิบย่อย ถ้าว่ากันตามตรงแล้วมาทั้งหมด บางทีเสียงเวลาที่นักคนตรี รูดนิ้วเลื่อนเปลี่ยนคอร์ดกีต้าร์ที่ยังสามารถแสดงออกมาได้ชัดเจน รายละเอียดของเสียงดนตรีที่สามารถแบ่งแยกออกมาได้ชัดเจนว่ามัน อยู่ห่างจากความเงียบสงัดของ Background แต่ว่าความรู้สึกของผมที่รายละเอียดเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นมันควรที่จะแยก Layer ออกมาได้ชัดเจน แต่สำหรับที่ผมลองๆฟังมามันเหมือนบางทีจะแยกกันออกมาไม่ขาดเหมือนเวลาฉีกขนม ชั้นออกมากินเป็นแผ่น แต่มัน ก็มีข้อดีที่มันแยก Layer ไม่ฉีกขาด คือสามารถนั่งฟังเพลงได้ทั้งวันแบบไม่รู้สึกเวียนหัวเหมือนบาง System ที่ผมเคยๆลองฟังแล้ว มันให้ความรู้สึกว่าเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นมันมี Layer เป็นของตัวเอง โดยรวมเป็นไปในลักษณะใสๆฟังแล้วดูโปร่งสบายแต่มาเต็มไป ด้วยรายละเอียดที่ไม่มีขาดหายไป ทาง ด้านความถี่ย่านเสียงกลาง นั้นก็คือเสียงร้องของนักร้อง ที่ต้องบอกกันตามตรงว่าถ้าใครชอบเสียงร้องแบบพุ่งๆ DAC ตัวนี้ไม่ควรพลาดกันได้อีกตัว น้ำเสียงที่ออกมานั้นให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติดีมาก (แต่ปลายๆเสียงฟังดีๆแล้วมันเหมือนจะโดนปรุง แต่งมาเล็กน้อย) เสียงกลางที่ฟังแล้วดูโปรงสบายๆนั่งฟังนานๆก็ไม่เบื่อ แต่ถ้าเปิดระดับเสียงที่ดังมากเกินไปฟังนานๆแล้วมีล้าหูได้แน่ เพราะว่าพลังเสียงที่ฟังแล้วให้ความรู้สึกเหมือนไปยืนเกาะขอบเวทีแสดงสด บางทีเวลาผมลองฟังต้องมีขยับต่ำแหน่งเก้าอี้ถอยหลังไป บ้างเล็กน้อย ก็จะได้เสียงกลางที่มันพุ่งมากระทบแก้วหูจังๆ แต่ถ้าใครชอบเสียงกลางที่พุ่งเหมือนจะทะลุแก้วหูไปก็ลองขยับต่ำแหน่ง เก้าอี้ที่นั่งฟังเพลงดูก็แล้วกัน กระแทกแก้วหูสะใจดีไปอีกแบบครับ ทาง ด้านย่านความถี่เสียงต่ำ ก็คือเสียงเบส ที่ฟังแว๊บแรกผมมีความรู้สึกว่ามันโดนปรุงแต่งมาพอสมควร แต่ถ้าใครชอบเบส ที่มีพลังเป็นทุนเดิมอยู่แล้วไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมาก ถ้าไม่ชอบเบสก็แก้เรื่องสายสัญญณและสายลำโพงเอาก็แล้วกัน โดยรวมพลังของ เสียงเบสที่ฟังดูแล้วมีอิมแพ็คที่มีกำลังดีมาก จังหวะการยุบและคืนตัวของกรวยลำโพงที่ผมสังเกตุดูว่ามันลงลึกและกระชับดี แต่ถ้าบาง ทีที่ผมลองเปิดระดับเสียงแทบดังลั้นบ้านกรวยลำโพงบางตัวเหมือนเกิดอาการมึนๆ ไปบ้าง (คืนตัวไม่ทัน) ทำให้เสียงที่มันออกมาฟังดู แล้วปลายมันติดบวมๆมาไปนิดหน่อย แต่โดยรวมแล้วเบสกระชับมีพลังเสียงที่ดีมากครับ จะฟังเพลงสนุกๆหรือเพลงเศร้าๆก็ทำออกมา ได้ดี ภารวมของการฟังเพลงแล้วมันฟังดูออกแนวฟังสบายๆได้ครบกันทุกย่านความถี่ โดยเสียงที่ออกมานั้นฟังดูแล้วโปร่งสบาย แต่ดันมีเบส ที่ผมลองๆฟังมานะเสียงมันดูเหมือนจะไปทางด้านทางดิจิตอลมากในช่วงของการ Upsamples ถ้าเป็นการเปิดในแบบ ปกติที่ไม่มีการ Upsamples ก็ฟังดูแล้วแนวอนาล๊อกติดๆปลายดิจิตอล (ถ้าใครชอบอนาล๊อกเต็มๆ แนะนำว่าไปเล่นเข็มและแผ่นเสียง แบบโมโนดีกว่าครับ) ความสะอาดของเสียงในทุกย่านความถี่ที่ ASUS Xonar Essence One ตอบสนองได้ดีมากครับ อันเนี่อง มาจากการออกแบบวงจรและการคัดเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ ในเรื่องของมิติหรือ Stage เสียง ตอนที่แกะข้างในคงเห็นแล้วว่ามันมี DAC ในแต่ละข้างไป ทำให้เสียงที่ออกมานั้นให้ความรู้สึกว่ามันสามารถแยกซ้ายและขวาออกมาได้ค่อน ค่างสมบูรณ์แบบมาก (ถ้าฉีกแยกตัว ออกกันไปเลยจะสุดยอดสุดๆ) แต่อีกสิ่งนึงที่ผมรู้สึกแปลกใจกับ Essence One ในเรื่องนิสัยความเป็นคนขี้ฟ้องเนี่ยแหละครับ ที่ผม ได้ลองเปิดไฟล์ MP3 256-320Kbps หลายๆเพลง ถ้าเป็นไฟล์เพลงที่ Rip มาดีๆฟังแล้วก็รู้สึกว่ามันสามารถฟังได้ลื่นหูพอสมควร ไอ้ที่ผมแปลกใจก็คือว่าปกติถ้ามันได้เป็นคนขี้ฟ้อง พวกรายละเอียดเครื่องคนตรีก็ต้องมีหายๆไปบ้าง กลับกลายเป็นว่าบน Essence One จะมีเพียงในเรื่องของรายละเอียดเครื่องดนตรีในแต่ละชิ้นที่บางทีฟังดูแล้ว เหมือนแยกออกมาไม่ให้ได้รู้สึกว่า เครื่องดนตรีแต่ละ ชิ้นมันแบ่งออกเป็น Layer ของตัวมันเองเท่านั้นเอง
โดยภาพรวมการฟังเพลงผ่านทางการเชื่อมต่อ Optical ถ้าไม่ฟังเทียบกันจริงๆจังๆดูเหมือนว่ามันจะไม่ต่างกับ Coaxial เท่าไร แต่ถ้าฟังดูดีๆแบบตั้งใจลองสลับเปลี่ยนสายสัญญาณหลายๆเส้นเทียบกันแล้ว เหมือนกับว่า Optical รายละเอียดของต่างๆของ เครื่องดนตรีที่ฟังดูแล้วใสน้อยลงไปหน่อย ,พลังของเสียงกลางที่ออกมาไม่เต็มที่และความใสหายลง รวมไปถึงเรื่องของเสียงเบสที่ฟัง แล้วเหมือนก่อนวันอัดจริงซ้อมมากเกินไปแล้วแรงขากับแขนลดลงไปจากปกติ แต่ถ้าใครฟังแล้วแยกไม่ออกผมก็ดีใจด้วยนะครับ จะได้ ไม่ต้องมาเปลืองเรื่องสายสัญญาณ มีอะไรต่อไปเสียงมันก็ดีหมดแหละถ้าฟังแบบไม่คิดอะไรมาก
การฟังเพลงโดยกมรเชื่อมต่อ USB นั้นภาพรวมนั้นจะมีความแตกต่างกับการเชื่อมต่อ Coaxial อยู่พอสมควรเลยทีเดียว ซึ่งการเชื่อมต่อ USB นั้นจะให้ Stage และความถี่ย่านต่างๆที่ฟังแล้วดูโปร่งสบายมากกว่า ถ้าฟังสลับๆเทียบกันไปเทียบมันมาแล้ว ทำเอาให้รู้สึกว่า Coaxial มัน Dark ไปเลยครับ ทั้งที่มันก็โปร่งสบายอยู่แล้ว ถ้าใครชอบ Stage เสียงแบบกว้างๆนั้นต้องทำใจลอง ฟัง USB ดู ที่ผมว่าหลายๆชุดที่ผมลองนั้นบางทีมันก็กว้างเกินไปฟังนานๆแล้วชวนเวียนหัว แต่กลับบางชุดเครื่องเสียงที่ฟังดูแล้วมัน กว้างกำลังดีทั้งที่ตอนต่อ Coaxial ฟังดูเหมือนว่ามันจะแคบไปเล็กน้อยครับ ส่วนทางด้านเสียงกลางและเสียงต่ำ ถ้าเทียบกับตอนที่ เป็นการเชื่อมต่อ Coaxial มันเหมือนจะลดความเข้มข้นลงไปเล็กน้อย อารมณ์เหมือนเวลาชงกาแฟที่ปกติใส่ไปสามช้อน พอมาฟังทาง USB มันเหมือนใส่กาแฟลงไป 2 ช้อนกับ 1/5 ของช้อน ก็ถ้าไม่เทียบกันแบบบ้าคลั่ง ก็จะไม่ได้เห็นความแตกต่างอะไรมากมายนักครับ
การฟังเพลงบนหูฟังผ่านจากแอมป์หูฟังที่อยู่ใน Xonar Essence One ทีแรกผมตั้งใจจะเขียนแบ่งออกเป็นสามส่วน แยกกันออกไป อันนี้ไม่ใช่ข้ออ้างนะผมยัด In-Ear จนเลือดออกหูตอนนี้หมอสั่งห้ามไม่ให้ใช้หูฟังใดๆทั้งสิ้น แต่เพื่อที่จะเขียนรีวิวตัว Xonar Essence One มันจบผมก็ต้องขออนุญาติคุณหมอแอบใช้ฟังหูหน่อย (หมอคนนี้แกอ่านโอเวอร์คล๊อกโซนทุกวันครับ) โดย ภาพรวมของบุคลิกเสียงนั้นก็ไม่ได้มีความแตกต่างอะไรกับการฟังบนเครื่องเสียง หรือลำโพงแต่อย่างไร ซึ่งก็ต้องบอกกันตามตรงว่าตัว หูฟังแต่ละตัวมันก็ให้ความแตกต่างกันไปครับ เรามาว่าเรื่องกำลังขับกันต่อที่ Xonar Essence One เล่นซะผมอึ่งมาก เพราะว่า ความสามารถในการขับหูหังที่บางตัวผมว่ามันขับออกให้หลุดยากมากที่ปกติผมใช้ กับ Amp NAD C315BEE แต่เมื่อผมมาลอง เทียบกับการฟังบน Xonar Essence One รู้สึกว่ามันขับได้สุดๆจริงๆครับ เอาเป็นว่าถ้าเป็นหูฟังแบบทั่วไปที่กำลังขับที่มีเผื่อเอา ไว้กันแบบเหลือๆ ถ้าเป็นหูฟังที่ขับยากจริงๆกำลังขับสูงสุดที่ 600 โอม คงจะเป็นอะไรที่ต้องบอกว่าสบายๆแล้วครับ
ก่อน ถึงช่วงบทสรุปผมต้องออกตัวกันอีกตามเคยว่าวันนี้ผมคงอาจะเขียนไม่ได้ละเอียด เจาะลึกอะไรกันเต็มที่มากครับ ที่มานั้น ผมก็ใช้กำลังภายในเล็กน้อย เพื่อให้มันมาถึงมือผมเพื่อเอามารีวิวให้ชาวโอเวอร์คล๊อกโซนได้ดูกันครับ ภาพรวม เรื่องของเสียงผมคงไม่มี อะไรเพิ่มเติมกันแล้วแหละ เขียนมาซะยืดยาวไปแล้วครับ โดยภาพรวมของ ASUS Xonar Essence One เป็นการออกมาที่ตอบ สนองความต้องการกลุ่มนักฟังเพลงและ audiophile ที่ไม่ได้ยึดติดกับความเป็นอนาล๊อกไปซะทุกอย่าง หลักการทำงานของมันอย่าง ที่ผมได้อธิบายไปคร่าวๆแล้วมันจะมีเรื่องของ DSP ที่ใช้ในการ Upsamples อยู่เพียงเรื่องเดียว อย่างน้อยถ้าไม่ได้มายึดติดมาเสียง ที่ออกมานั้นต้องดิบๆ การ Upsamples ก็ไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายอะไร มันก็ช่วยให้เสียงเพลงที่ออกมานั้นมีคุณภาพดีขึ้นมาได้ครับ การ ใช้งานที่ ASUS Xonar Essence One จะเน้่นไปในรูปแบบของการต่อเครื่องเสียงเป็นหลัก อันนี้ผมก็ไม่ได้เอาความชอบส่วนตัว มาเป็นที่ตั้งกันครับ ลองดูได้จากการปล่อยออกของสัญญาณเสียงที่มี XLR หรือ Balanced Output แอมป์ถูกๆไม่มีให้เห็นแน่นอน และลูกปิดปรับระดับเสียงที่อยู่ตรงกลางที่มีขนาดใหญ่ แต่ว่าเป็นกลุ่มคนเล่นเครื่องเสียงที่ยังมีอารมณ์ส่วนตัวที่ชื่นชอบการครอบ หูฟัง ต้องการความเป็นส่วนตัวในการฟังเพลงจริงๆ ASUS Xonar Essence One ก็มีภาคขยายสัญญาณเสียงสำหรับหูฟังโดยเฉพาะ ที่รองรับการขับหูฟังสูงสุดได้ถึง 600 Ohm ส่วนเรื่องราคานั้นดูจากเนื้องาน ,อุปกรณ์ที่ใช้ข้างใน ,ลูกเล่น ,ความสามารถ และคุณภาพ เสียงที่ออกมา ราคานั้นคงไม่ถูกอย่างแน่นอน แต่ถ้าเป็นคนที่เล่นเครื่องเสียงหรือชอบของพวกนี้อยู่แล้วก็ซื้อมาลองเล่น ได้แบบไม่ต้องคิด อะไรกันมาก สำหรับวันนี้ผมขอจบ เพียงเท่านี้นะครับ ถ้าขาด ตกบกพร่อง ในจุดใดก็ขออภัยด้วย ไว้เจอกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดี... _/|\_
ASUS Xonar Essence One Special Thanks : ASUSTek Inc.
บทความนี้ทำขึ้นเพื่อส่งงานในรายวิชา 0012006 อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เท่านั้น
credit : www.overzoneclock.com