NVidia QUADRO 4000

LEADTEK nVidia QUADRO 4000 Profressional Workstation Graphics Board base 's Fermi Power

วันนี้เราก็มีโอกาสได้สัมผัสกับเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ทางด้านของ Workstation มาให้ให้ได้รับชมกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็จะหนีไม่พ้นกับเจ้ากราฟิกการ์ดที่ออกแบบมาสำหรับคนทำงานเพื่อสร้างราย ได้ และเราก็ยังจะคงอยุ่กับกราฟิกการ์ดจากค่าย nVidia เช่นเคยสำหรับ nVidia Quadro Series ที่วันนี้นั้นอาจจะแตกต่างไปจากในหลายๆครั้งก่อนหน้านี้เล็กน้อยในส่วนของแบ รนด์ผู้ผลิตจากทุกๆครั้งที่เราจะต้องมาพบเจอกับ PNY หากแต่ในครั้งนี้มันเป็นกราฟิกการ์ดจากทาง LEADTEK นั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในคู่ค้ารายใหญ่เจ้าหนึ่งของ nVidia มาอย่างยาวนาน เอ่ยถึง LEADTEK นั้นหลายๆท่านอาจจะไม่ค่อยจะคุ้นหูกับมันสักเท่าไหร่นัก ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันก็ถือเป้นแบรนด์หนึ่งที่ได้เข้ามาทำตลาดในบ้านเรามา อย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป้นกราฟิกการ์ดทั้งในตลาดของเกมส์เมอร์หรือ Workstation ก็ตามทีเพียงแต่เราๆท่านๆนั้นมักจะรู้จักหรือเรียกขานกันในอีกชื่อหนึ่งที่ ใช้ชื่อว่า Winfast นั่นเองครับ สำหรับคำว่า Winfast นั้นหากจะว่ากันจริงๆแล้วมันจะเป็นเครื่องหมายการค้าของทาง LEADTEK ที่ใช้ในการเจาะตลาดเกมส์เมอร์กับกราฟิกการ์ดสำหรับชาวเกมส์ทั้งหลาย ส่วนกราฟิกการ์ดในกลุ่มคนทำงานหรือ Workstation นั้นทาง LEADTEK ก็จะใช้ชื่อบริษัทเป็นเครื่องหมายการค้ากันไป เอาล่ะรู้สึกว่าจะพูดนอกเรื่องหรือท้าวความกันค่อนข้างมากเกินไปแล้วนะครับ เราวกมาที่ตัวผลิตภัณฑ์ที่เราได้รับมาทดสอบในครั้งนี้กันดีกว่านะครับกับ LEADTEK nVidia QUADRO 4000 กับกราฟิกการ์ดสำหรับคนทำงานในระดับกลางๆเกือบสูงอีกตัวหนึ่งที่มาพร้อมกับ GPU หรือกราฟิกชิบในตระกูลใหม่ล่าสุด ณ ปัจจุบันนี้อย่าง nVidia Fermi นั่นเอง ซึ่งเราก็ลองมาติดตามรับชมกันดูนะครับว่าเจ้า Quadro 4000 ที่ได้รับมานั้น มันจะมีความน่าสนใจขนาดไหน และจะเหมาะกับกลุ่มผุ้ใช้งานในระดับใด

จุด นี้เรามาพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดพื้นฐานของ nVidia Quadro ในรหัส 4000 ซีรีย์ดังกล่าวนี้กันสักเล็กน้อยว่ามันนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไรกันบ้าง ซึ่งสำหรับ nVidia Quadro 4000 นั้นอย่างที่ได้กล่าวไปในตอนต้นแล้วว่ามันเป็นกราฟิกการ์ดในตระกูล QUADRO อีกหนึ่งโมเดลที่มาพร้อมกับกราฟิกชิบบนพื้นฐานการผลิตของ nVidia Fermi รหัสแรงอย่าง GF100 ที่มันประจำการอยู่บนกราฟิกการ์ดในกลุ่มของ Geforce อย่าง GTX480, GTX470 และ GTX465 และหากเรามองมาที่เจ้า Quadro 4000 แล้วนั้นสเป็คที่มองดูแล้วใกล้เคียงที่สุดก็เห็นจะเป็น GTX465 และก็น่าจะพอสรุปได้ว่า nVidia Quadro 4000 นั้นมันก็ถูกผลิตมาบนพื้นฐานของ GTX465 ด้วยในส่วนของชุดเมโมรีคอนโทรลเลอร์ที่มีขนาด Bus Width ที่เท่าๆกันคือ 256Bit แต่ในส่วนของตัวกราฟิกชิบนั้นมันจะยังคงเป็น GF100 รหัสเดียวกันกับ GTX480 และ GTX470 ด้วยที่จำนวนของทรานซิสเตอร์ที่ใช้ทั้งหมดมีจำนวนที่ไม่แตกต่างกันเลยคือ 3200 ล้านตัว แต่จุดที่แตกต่างออกไปก้คือจำนวนของ CUDA Core หรือชุด Shader Engine ที่ nVidia Quadro 4000 นั้นจะมี CUDA Core เพียง 256unit แต่ Geforce GTX465 จะมีมาทั้งหมด 352unit ด้วยกันแต่สิ่งที่ QUADRO 4000 เหนือกว่าก้คือเรื่องของขนาดความจุของตัวเมโมรีที่มันมีการติดตั้งมาให้มาก ถึง 2GB ก็เรียกว่าออกแบบมาสำหรับทำงานจริงๆ และสิ่งที่แน่นอนว่าจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็คือเรื่องของการทำงานในแบบ เฉพาะทางที่ nVidia Quadro 4000 นั้นจะมีความสามารถเกี่ยวกับ OpenGL หรือกระทั่ง Tessellation ในด้านต่างๆในระดับ Hardware และส่วนทางด้านของความเร็วการทำงานของตัว GPU นั้นอาจจะมองดูว่าไม่หวือหวาเร้าใจนักเพราะทาง nVidia ได้กำหนดสัญญาณนาฬิกาของ GPU ให้ทำงานด้วยความเร็วเพียง 475MHz เท่านั้นในขณะที่ GTX465 นั้นทำงานด้วยความเร็วที่สูงกว่ามาก แต่กับความเร็วของเมโมรีนั้นก็ไม่ได้แตกต่างกันมากมายสำหรับ GDDR5 ที่ความเร็ว 2800MHz effective ส่วนรายละเอียดและสเป็คการทำงานพื้นฐานในจุดอื่นๆนั้นก็สามารถรับชมจากตาราง ทางด้านล่างได้เลยนะครับ

GPU Specifications

Package & Bundled

สำหรับ รูปร่างหน้าตาของกราฟิกการ์ดในกลุ่ม Workstation นั้นก็อาจจะดูแล้วไม่ค่อยจะแตกต่างกันมากนักในแต่ละผู้ผลิต ซึ่งส่วนมากแล้วก็จะเน้นไปที่ลวดลายที่เกี่ยวข้องกับงานการออกแบบเพื่อให้ รู้สึกถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนจากการ์ดสำหรับเล่นเกมส์ ส่วนชุดอุปกรณ์บันเดิลทั้งหมดที่มีมาให้นั้นก็จะมีเพียงส่วนหลักๆพื้นฐาน อย่าง CD Driver, User Manual, Warranty Card, สายแปลง Display Port to DVI และ DVI to D-Sub Adapter ส่วนอุปกรณ์ที่เป็น Option อย่าง Stero 3D Bracket หรือสายแพเชื่อมต่อสำหรับการ์ด Quadro SDI หรือการ Capture นั้นก็ต้องหาซื้อเพิ่มเติมเอาเอง ไม่มีการบันเดิลมาให้ด้วยแต่อย่างใด

ใน ส่วนของตัวการ์ดนั้นคงบอกได้เลยว่ามาในรูปแบบหรือหน้าตาตามมาตรฐานของการ์ด จากทาง nVdia เต็มร้อย ไม่มีการออกแบบอะไรใหม่เพิ่มเติมแม้แต่น้อยทั้งสีสันและลวดลาย จะมีบ้างก็เพียงการแปะสติ๊กเกอร์เพื่อบ่งบอกให้ทราบว่าเป็นการ์ดจากทาง LEADTEK ในบริเวณของตัวพัดลมระบายความร้อนเท่านั้น ซึ่งตัวการ์ดนั้นจะเป็นการในแบบ Single Slot ที่มีความยาวพอสมควร ด้านบนของตัวการ์ดก็จะถูกปกคลุมไปด้วยตัวฮีตซิงก์เต็มพื้นที่ของตัว PCB ส่วนทางด้านหลังก็จะมี Back Plate ที่จะทำหน้าที่เป้นฮีตซิงก์ให้กับตัวเมโมรีชิบในบริเวณดังกล่าว

สำ หรับชุดพอร์ทแสดงผลนั้นจะมีมาให้ได้เลือกใช้งานกันสองมาตรฐานคือ Display Port ในมาตรฐาน 1.1a (HDMI 1.3a ในกรณีมีการใช้ตัวแปลงจาก DP to HDMI) จำนวนสองชุดและ Dual link DVI-I อีกหนึ่งพอร์ทซึ่งทั้งคู่ก็จะรองรับความละเอียดสูงสุดในการแสดงผลที่ 2560x1600pixel@60Hz หรือ 1920x1200pixel@120Hz ส่วนความสามารถในการเชื่อมต่อจอแสดงผลได้มากสุดก็ยังคงอยุ่ที่จำนวนสองชุด ส่วนความสามารถทางด้านของ nVidia 3D Vision หรือ 3D Stereo นั้นหากต้องการใช้งานในส่วนนี้ ทางผู้ใช้งานก็ต้องมีการซื้อตัวชุด Bracket เพิ่มเข้ามาต่างหาก และการใช้งานนั้นก็จะมีความแม่นยำกว่าการใช้งานจากชุด 3D Stereo ที่ซื้อเพิ่มแบบภายนอกที่เคยพบเห็นพอสมควร เพราะว่าตัวการ์ดนั้นจะมีสายสำหรับส่งสัญญาณในแบบ 3pin โดยตรงจากตัวการ์ดสู่ IR Emitter (ตัวรับส่งสัญญาณสู่แว่น 3D) ที่จะช่วยให้สัญญาณทริกเกอร์ที่ส่งไปมีความแม่นยำและผิดพลาดน้อยกว่าการ เชื่อมต่อในแบบ USB จาก PC to IR Emitter

ทาง ด้านของการใช้พลังงานนั้นจากอัตรา TDP สูงสุดของ QUADRO 4000 ที่ทาง nVidia กำหนดมาที่ 142W ซึ่งก็ไม่แปลกใจที่เราจะพบเห็นพอร์ทจ่ายไฟเลี้ยงเพิ่มเติม ในบริเวณท้ายการ์ดในแบบ 6pin pci-e จำนวนหนึ่งชุด

สำหรับ ที่ใครอาจจะยังไม่พอใจกับพลังความแรงของ Quadro 4000 หรือมันอาจจะยังตอบสนองต่องานที่ทำได้ไม่ดั่งใจนั้น เราก็สามารถเลือกใช้งานในลักษณะของ Dual Card, Dual GPU ในโหมด SLI ได้เช่นกัน (แต่ก็ดูโปรแกรมที่ใช้ด้วยว่ารองรับ SLI หรือเปล่า) ซึ่งก้มี SLI Pin มาให้จำนวนหนึ่งชุดและนั่นก็หมายความว่าจะสามารถใช้การ์ดในแบบ SLI ได้สูงสุดเพียงสองใบเท่านั้น ส่วนพอร์ทเชื่อมต่อใกล้ๆกับ SLI Pin ที่เห็นนั้นจะเป็นพอร์ทสำหรับสายแพของการ์ด Quadro SDI (input/output Capture Card) และสุดท้ายกับพอร์ท 4pin ในบริเวณท้ายการ์ดใกล้ๆกับพอร์ทจ่ายไฟเลี้ยงเพิ่มเติมก็จะเป็นพอร์ทสำหรับ สายไฟของ 3D Stereo Bracket นั่นเอง

สัก นิดกับสิ่งที่ติดตัวมาในความเป็น Fermi ที่พบเห็นกันอยุ่บ่อยครั้งมาตั้งแต่ต้นของยุค Fermi ก็คือสติ๊กเกอร์ที่แจ้งเตือนให้ระวังความร้อนที่จะเกิดขึ้น ว่าไม่ควรสัมผัสในขณะใช้งาน ^^

Test Setup

บรรยากาศขณะทำการทดสอบ

GPUZ

ราย ละเอียดของตัวการ์ดในโมเดล Quadro 4000 จากทาง GPUZ ที่จะยังคงแสดงชื่อของตัว GPU ออกมาเป็นเพียง GF100 ที่ยังไม่มีรหัส GL ตามท้ายเช่นเคย ส่วนในจุดอื่นๆนั้นก็แสดงข้อมูลได้อย่างถูกต้องทั้งหมด

AIDA64

AIDA64 ซึ่งจะรายงานชื่อของตัวชิบได้อย่างถูกต้องว่ามันคือ GF100GL

CPU & Memory - Testing Setup

สเป็ค ที่ใช้ในการทดสอบ Quadro 4000 จากทาง Leadtek ในวันนี้ก็ยังอยู่กับชุดเดิมๆที่เราเคยใช้ทดสอบกราฟิกการ์ดในตระกูล QUADRO มาโดยตลอดโดยซีพียุนั้นจะเป็น Intel Core i7 Extreme 965 ที่ความเร็ว 3.6GHz และความเร็วของเมโมรีก็ยังคงอยุ่ที่ความเร็วในแบบพื้นๆคือ DDR3-1600MHz CL9-9-9-24-1T

Benchmark Result

ในส่วนของบททดสอบนั้นก็เช่นเคยครับ เราจะยังคงนำผลการทดสอบของกราฟิกการ์ดในตระกูล QUADRO ในโมเดลต่างๆที่เคยทดสอบ นำมาเปรียบเทียบให้ได้รับชมถึงความแตกต่างของความแรงให้ได้เห็นกัน รวมถึงกราฟิกการ์ดในตระกูล Geforce ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในราชาของชาวเกมส์เมอร์ในเวลานี้อย่าง Geforce GTX580 ส่วน Software ที่ใช้ทดสอบนั้นก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆคือยังเป็น SPECviewperf ในเวอร์ชัน 11.0 ที่ระดับความละเอียด 1920x1080pixel เช่นทุกครั้ง ว่าแล้วก้ลองไปชมผลการทดสอบของ LEADTEK QUADRO 4000 ตัวนี้กันดูเลยล่ะกันนะครับว่า มันจะมีความทรงพลังขนาดไหนจะแตกต่างไปจากโมเดลอื่นๆมากน้อยเพียงไร

SPECviewperf 11.0 Benchmark

Catia-03

Ensight-04

Lightwave-01

Maya-03

Proe-05

SW-02

Tcvis-02

SNX-01

Conclusion

บทสรุปโดยรวมในขั้นแรกตรงนี้นั้นคงจะกล่าวได้เลยว่าเจ้า LEADTEK QUADRO 4000 นั้นก้ให้ความแรงออกมาสมกับความเป็นกราฟิกการ์ดในระดับกลางที่ค่อนไปเกือบๆ จะสูง หรือถ้าพูดแบบตรงไปตรงมาก็คือแรงตามระดับราคาก็ได้หากมองจากกราฟิกการ์ดใน โมเดลอื่นๆที่มีผลมาร่วมเปรียบเทียบด้วย ซึ่งผลที่ออกมาก็ประมาณ 80% ของบททดสอบทั้งหมดเห็นได้ถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน จะมีเพียงสองโปรแกรมทดสอบเท่านั้นที่มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ในจุดนี้เดี๋ยวเรามาเจาะกันเป็นจุดๆดูบ้าง โดยขอเริ่มที่โปรแกรมการทดสอบที่มีความโดดเด่นของประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก สำหรับโปรแกรม Maya ที่เจ้า QUADRO 4000 นั้นให้ความแรงออกมาในแบบที่เรียกว่าฉีกแบบไม่เห็นฝุ่นกันเลยทีเดียว ด้วยความแรงเกือบๆเท่าตัวเมื่อเปรียบเทียบกับ QUADRO 2000 ดังนั้นสำหรับกลุ่มผุ้ใช้งานที่มีการใช้งานโปรแกรม Maya เป็นหลักก็ดูแล้วมีความน่าสนใจไม่น้อยสำหรับ QUADRO 4000 ที่มันจะช่วยร่นเวลาในการทำงานลงได้ค่อนข้างมากอย่างแน่นอน แต่กระนั้นก็คงจะต้องมองก่อนด้วยว่างานที่ตนเองทำอยุ่นั้นมันมีรายละเอียด ของตัวงานมากน้อยขนาดไหน ถ้าเป้นการทำงานในแบบเล็กๆน้อยๆ เป็นเพียงมือปืนรับจ้างบางทีก็อาจจะยังไม่จำเป็นนัก แต่หากเป็นการทำงานในระดับองค์กรที่มีรายได้เป็นกอบเป็นกำแล้วล่ะก็บอกได้ เลยว่า มันคุ้มค่าต่อการลงทุนอย่างแน่นอน ส่วนในโปรแกรมใช้งานอื่นๆยกเว้น Lightwave และ Pro Engineer นั้นก็มีสัดส่วนที่น่าสนใจระดับหนึ่งของประสิทธิภาพที่เหนือกว่าและสำหรับ Lightwave และ Pro engineer แล้วนั้นก็คงพูดกันตามเนื้อผ้าเลยว่า เราแทบจะไม่เห็นถึงความแตกต่างมากนักดังนั้นก็คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักหาก ใครที่ทำงานด้วยโปแกรมเหล่านี้เป็นหลัก เพราะจากผลการทดสอบนั้นเพียงแค่น้องเล็กอย่าง Quadro 400 ก็สามารถตอบสนองได้ในระดับที่ใกล้เคียง เป้นรองก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นสำหรับบทสรุปในภาพรวมสุดท้ายนั้นกับ LEADTEK nVidia QUADRO 4000 ก็ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีความน่าสนใจสำหรับงานที่มีความเหมาะสมกับตัว มันเอง ด้วยประสิทธิภาพที่สามารถมองได้ว่ายังคงคุ้มค่าต่อการลงทุนสำหรับผุ้ที่ใช้ งานเป็นอาชีพจริงๆ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้เน้นไปแล้วอย่างการทำงานของระดับองค์กร หากต้องการความรวดเร็วเพื่อลดระยะเวลาการทำงานให้สั้นลงมันก้เป้นอีกทาง เลือกที่น่าลงทุนเลยล่ะครับ

บทความนี้ทำขึ้นเพื่อส่งงานในรายวิชา 0012006 อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เท่านั้น

credit : www.overzoneclock.com

Penulis : PC update ~ Sebuah blog yang menyediakan berbagai macam informasi

Artikel NVidia QUADRO 4000 ini dipublish oleh PC update pada hari วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555. Semoga artikel ini dapat bermanfaat.Terimakasih atas kunjungan Anda silahkan tinggalkan komentar.sudah ada 0 komentar: di postingan NVidia QUADRO 4000
 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น