สวัสดีครับ... วันนี้เราจะมาว่ากันที่เรื่องราวของอุปกรณ์ที่หลายๆคนยังคงติดปากเรียกกัน ว่า Harddisk เพราะด้วยความเคยชินกับลักษณะการใช้งานที่มันจะทำหน้าที่เป็นสื่อจัดเก็บ ข้อมูลหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง สำหรับอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า Solid State Drive หรือที่เรียกันสั้นๆว่า SSD นั่นล่ะครับ โดยในความเป็นจริงแล้วนั้นเจ้า SSD นี้เขาจะไม่เรียกกันว่า Harddisk ถึงแม้มันจะทำงานเหมือนกับ Harddisk ก็ตามทีเพราะด้วยลักษณะทางกายภาพของมันนั้น มันไม่ได้มีอุปกรณ์ที่เคลื่อนไหวหรือมีจานแม่เหล็กที่เป็นตัวเก็บข้อมูล แต่มันจะใช้สื่อการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะที่เรียกกันว่า Nand flash memory แทน ดังนั้นเมื่อมันไม่มีจานแม่เหล็กเขาจึงไม่เรียกมันว่า Harddisk เพราะคำว่า Disk นั้นมีความหมายว่า "จาน" หรือแผ่นกลมๆ ดังนั้นแล้วหากจะเรียกกันให้ถูกต้องสำหรับสื่อจัดเก็บข้อมูลในแบบ SSD นั้นเขาก็จะนิยมเรียกกันแบบทับศัพท์เลยว่า SSD หรือถ้าจะเรียกเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลก็จะต้องเรียกกันว่า Harddrive หรือ Storage Drive นั่นเอง เอาล่ะครับพูดถึงเรื่องของการเรียกชื่ออยู่ตั้งนานแต่เราก็ยังไม่ได้บอกเลย ว่าวันนี้เราจะมีอะไรมาให้ได้รับชมกัน ซึ่งแน่นอนว่ามันจะต้องเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลหลักอย่างแน่นอนกับ SSD ในตระกูลใหม่ล่าสุดจากทาง Intel ผู้ริเริ่มและผลักดันจน SSD นั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลานี้ โดยในเวลานี้ทาง Intel ก็ได้มีการเปิดตัว SSD ของตนเองมาจนถึงซีรีย์ 520 กันแล้ว ซึ่งในการเรียกชื่อซีรีย์ของทางอินเทลที่ผ่านมานั้นก็จะอ้างอิงถึงความ สามารถหรือความเร็วในการอ่านเขียนที่ SSD ตนเองจะสามารถกระทำได้ และวันนี้ก็เช่นกันสำหรับ Intel SSD 520 Series ซึ่งแน่นอนว่าทาง Intel ก็จะได้มีความเร็วในการอ่านเขียนที่ระดับ 520MB/s โดยประมาณ ส่วนมาตรฐานของการเชื่อมต่อหรืออินเทอร์เฟสนั้นก็มาตามยุคสมัยที่ ณ ปัจจุบันนี้ก็เป็นยุคสมัยของ SATA 6Gbps หรือ SATA 3.0 นั่นเอง ส่วนเรื่องของขนาดความจุนั้นก็จะยังมีให้ได้เลือกใช้กันหลากหลายขนาดตามความ ต้องการของแต่ละคน ตามแต่กำลังทรัพย์์ซึ่งก็ลองมารับชมกันดูว่ากับ Intel SSD 520 Series ที่เราได้รับมาในขนาด 240GB ในวันนี้นั้น มันจะมีความแรงความสามารถได้ในระดับที่ทาง Intel กล่าวอ้างเอาไว้หรือไม่ ว่าแล้วก็ไปติดามรับชมกันเลยนะครับ
เรา มาว่ากันที่ตัวแพ็กเกจกันก่อนสักเล็กน้อยสำหรับ SSD จากทางอินเทลที่จะมีการใช้ลักษณะของตัวกล่องที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยการใช้สีฟ้าที่เป็นสีสัญลักษณืของทางอินเทล ส่วนลวดลายที่ใช้ก็จะมีความคล้ายคลึงกับตัวซีพียู ส่วนอุปกรณ์บันเดิลที่มาพร้อมกับตัว SSD ภายในนั้นก็จะประกอบไปด้วย ตัวแปลงสำหรับยึด SSD ในขนาดพื้นที่ 5.25", สาย SATA หนึ่งเส้น, สายแปลงจาก Molex 4pin to SATA Power, CD Software Driver, คู่มือการใช้งาน, นัตสำหรับจับยึดและสติ๊กเกอร์สำหรับแปะเทห์อีกหนึ่งชิ้น
สำหรับ ขนาดของตัว SSD นั้นก็มาในขนาดมาตรฐาน 2.5" ตามแบบฉบับของ SSD ทั่วๆไปส่วนรูปร่างหน้าตาและลวดลายนั้นทางอินเทลก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ใดๆ ยังเลือกใช้ตัวบอดี้สีเงินพร้อมทั้งมีการคาดลายหรือเซาะร่องให้เป็นแนวโค้ง โดยพื้นที่ทางด้านบนก็จะเป็นพื้นที่ของสติ๊กเกอร์ลาเบลระบุรายละเอียดต่างๆ ของตัว SSD ว่าเป็น SSD ในโมเดลอะไร ซีรีย์ไหน ซึ่งในที่นี้ก็จะเป็น Intel SSD 520 Series และมีความจุที่ขนาด 240GB ระบุไว้ชัดเจนในแถวบนสุด ส่วนบริเวณกึ่งกลางก็แจ้งมาชัดเจนเช่นกันสำหรับอินเทอร์การเชื่อมต่อที่จะ เป็น SATA 6Gbps และมีอัตราการใช้พลังงานสูงสุดที่ประมาณ 5W ด้วยไฟเลี้ยงในระดับ 5V 1A
ถึง ณ วันนี้ก็คงไม่มีใครไม่รรู้จักแล้วกระมังครับสำหรับรูปแบบของพินการเชื่อมต่อ ที่เห็นอยุ่ในภาพ ซึ่งมันก็คือรูปแบบของการเชื่อมต่อในแบบ SATA และ SATA Power ซึ่งก็จะมีพอร์ทสำหรับเชื่อมต่อมาเพียงสองชุดดังที่ปรากฏ ไม่มีพอร์ทแปลกๆอื่นๆมาให้ได้ใช้งานด้วยแต่อย่างใดอาทิเช่น USB พอร์ทเป็นต้น
ภายใน เมื่อเราเปิดออกมาดูก็จะพบกับ Nand Falsh Memory จำนวนทั้งหมด 16 ตัวโดยจะเลือกติดตั้งไว้ด้านล่ะ 8 ตัวของ PCB ส่วน PCB ด้านหนึ่งนอกจากจะประกอบไปด้วย Nand flash แล้วนั้นสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้ก็คือชิบควบคุมซึ่งก็เป็นชิบยอดนิยมจากทาง Sanforce นั่นเอง
ชิ บควบคุมหรือ Controller Chip จากทาง SanForce ในรหัส SF-2281VB1-SDC ยอดฮิตสำหรับ SSD ในอินเทอร์เฟส SATA 3.0 ในปัจจุบันนี้พร้อมกับ Nand Flash จากทาง Intel ที่มีการพัฒนาร่วมกันกับทาง Micron Technology ในแบบ Synchronous MLC ด้วยขนาดการผลิต 25nm และจากทั้งหมดที่ติดตั้งมาจำนวน 16 ชิบซึ่งหมายความว่าชิบแต่ละตัวนั้นจะมีความจุที่ขนาด 16GB ด้วยกัน แต่หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าแล้วมันหายไปไหนอีกตั้งหลาย GB หรือถ้านับกันเต็มๆก็มันจะควรจะต้องเป็น 256GB ซึ่งที่หายไปนั้นส่วนหนึ่งก็จะโดนจองเอาไว้สำหรับ Firmware ของชิบ Sanforce นั่นเอง
System หรือระบบที่เราใช้ในการทดสอบ Intel SSD 520 Series 240GB ในครั้งนี้นั้นซีพียูก็มาในแบบพื้นฐานๆทั้งโมเดลซีพียูและความเร็ว ซึ่งความเร็วที่ใช้ก็มาในแบบเดิมๆหรือปรับ Auto ทั้งหมดรวมถึงความเร็วของเมโมรีก็เช่นกันคือทำงานที่ DDR3-1333MHz CL9-9-9-24 แต่ประเด็นสำคัญคงจะอยุ่ที่ตัวเมนบอร์ดที่ใช้ ซึ่งเราเลือกใช้เมนบอร์ดที่เป็นชิบเซตในรหัส Z68 ที่พร้อมรองรับการทำงานร่วมกับ SATA 3 ในแบบ On Chip ซึ่งการติดตั้งใช้งานสำหรับการทดสอบนั้นเราจะมีทั้งบททดสอบในแบบ ติดตั้ง OS และแบบไม่ติดตั้ง OS (Unpartition)มาให้ได้ชมกัน ส่วนการตั้งค่าการควบคุมของ Z68 นั้นเราจะเลือกใช้โหมด AHCI ในการใช้งาน
ราย ละเอียดจาก CrytalDiskInfo นั้นในส่วนของสถานะก็ยังแสดงออกมาให้เห็นว่าสภาพของ SSD ตัวนี้ยังคงสมบูรณ์ 100% ส่วนรายละเอียดของฟีเจอร์ต่างๆที่รองรับนั้นขาดแต่ก้เพียงฟังก์ชัน AAM เท่านั้นที่ไม่รองรับส้วนฟีเจอร์หลักๆเด่นๆอื่นเช่น NCQ, TRIM พร้อมรองรับตามสไตล์ของ SSD ในปัจจุบันนี้
ราย ละเอียดจาก CrytalDiskInfo นั้นในส่วนของสถานะก็ยังแสดงออกมาให้เห็นว่าสภาพของ SSD ตัวนี้ยังคงสมบูรณ์ 100% ส่วนรายละเอียดของฟีเจอร์ต่างๆที่รองรับนั้นขาดแต่ก้เพียงฟังก์ชัน AAM เท่านั้นที่ไม่รองรับส้วนฟีเจอร์หลักๆเด่นๆอื่นเช่น NCQ, TRIM พร้อมรองรับตามสไตล์ของ SSD ในปัจจุบันนี้
เช่น เดียวกันสำหรับการตรวจสอบความสมบูรณ์ของตัว SSD ผ่านทาง Sofware จากทาง Intel เองอย่าง Intel Solid State Drive Tool มันก็ยังเป็นไปในแนวเดียวกันกับข้างต้นที่สภาพยังคงอยุ่ในสถานะสมบูรณ์ 100%
สำหรับ ความจุหลังจากการ Format เพื่อจะทำการติดตั้ง OS นั้น เราจะได้ความจุทั้งหมดมาใช้งานด้วยกันในขนาด 223GB ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปรกติของการนับอัตราความจุ ที่มันจะไม่ตรงกับหน่วยใหญ่ๆแบบเปะๆ เพราะหากนำค่ามาคำนวนกันจริงๆมันก็ไม่ได้หายไปไหน ซึ่งตามที่ทราบกันอยู่แล้วว่า 1MB = 1024 Kilobyte
สำหรับ CrytalDiskMark นั้นโดยทั่วๆไปแล้วเรามักจะพบว่าการทดสอบที่ออกมาโดยเฉพาะในส่วนของผลความ เร็วในการ Write ที่มักจะออกมาต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเสมอเมื่อเปรียบเทียบกับสเป็คของ SSD ในโมเดลนั้นๆ แต่หากว่าเราเลือกโหมดการทดสอบไปในโหมด " All 0x00 0Fill " นั้น ผลที่ออกมาจะเห็นได้ถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนสำหรับความสามารถทางด้านการ Write ที่จะให้ผลออกมาได้ใกล้เคียงหรืออาจจะกล่าวได้ว่าค่อนข้างมีความถูกต้องตาม ที่ควรจะเป็น ส่วนความเร็วทางด้าน Read นั้นก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากมายนัก
สำหรับ ATTO Disk Benchmark นั้นน่าจะถือว่าเป็นโปรแกรมเดียวที่จะสามารถให้ผลการทดสอบออกมาได้ในระดับ ที่เป็นไปตามที่ทางผู้ผลิตแต่ละรายออกแบบมา ดังเช่นในวันนี้กับ Intel SSD 520 Series ตัวนี้ที่ทางอิเทลได้ออกแบบมาว่าจะมีความเร็วในการเขียนช่วงประมาณ 520MB/s เป็นอย่างน้อย และกับผลทดสอบที่ออกมาก็ให้ค่าสูงสุดในช่วงดังกล่าวนี้
กับบททดสอบทั้งหมดที่ออกมาของเจ้า Intel SSD 520 Series ที่ผ่านพ้นกันไปนั้น ในเบื้องต้นนั้นหากมองจากภาพโดยรวมทั้งหมดแล้วก็นับว่าเป็น SSD ที่มีความเร็วความแรงเป็นที่น่าสนใจไม่น้อย ซึ่งผลทดสอบจากหลายๆบททดสอบต่างก็ให้ผลที่น่าพอใจ และแม้ว่าหากมองกับโปรแกรมทดสอบเด่นๆที่นิยมทดสอบกันที่เราอาจจะไม่ได้เห็น ถึงความเร็วที่ทำได้ถึงสเป็ค แต่แม้ไม่ถึงสเป็คมันก็จัดเป็นความเร็วที่สูงพอตัวสำหรับ SSD ณ ปัจจุบันนี้ แต่กระนั้นก็ใช่ว่าเราจะไม่สามารถเห็นความเร็วตามสเป็คไปเสียทีเดียว เพราะอย่างน้อยๆแล้วผลการทดสอบจากโปรแกรม ATTO Disk Benchmark ที่เป็นหนึ่งในโปรแกรมยอดนิยม มันก็แสดงผลออกมาได้ดีให้ความเร็วทั้งความเร็วในการอ่านและความเร็วในการ เขียน เป็นไปตามสเป็คทั้งสองด้านรวมถึงโปรแกรม HD Tune ในส่วนของ File Benchmark ก็ให้ผลออกมาในระดับที่ใกล้เคียงกับสเป็คที่ทางอินเทลได้กำหนดมาเช่นกัน ดังนั้นในวันนี้กับบททดสอบของ Intel SSD 520 Series ในโมเดลขนาดความจุ 240GB ที่เราได้ทำการทดสอบไปนั้น ก็สามารถสรุปได้บ้างว่าเป้นไปตามที่ทาง Intel ได้การันตีไว้แม้จะเพียงโปรแกรมเดียวก็ตามที อนึ่งหากใครที่ได้มีการติดตามผลการทดสอบเกี่ยวกับ SSD หรือ HDD หรือแม้แต่สื่อจัดเก็บข้อมูลอย่าง Thumbdrive นั้น ก็น่าจะทราบกันว่าผลการทดสอบต่างๆที่ออกมาก็มักจะเป็นไปในแนวเดียวกันนี้ ที่เรามักจะไม่พบเห็นว่ามันตรงกับสเป็คของผุ้ผลิตมากนัก และสำหรับใครที่มองหา SSD อยู่และนำไปใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน(แน่นอนอยู่แล้ว ! เพราะคงไม่มีใครซื้อมาโชว์ ^^") ก็อย่าไปกังวลมากนักกับความเร็วที่เราเห็นว่าทำไมไม่ได้ตามสเป็คที่ผู้ผลิต เขารับรองมา แต่ให้มองในภาพรวมมากกว่า รวมทั้งหากมองจาก Intel SSD 520Series 240GB ตัวนี้นั้น ให้สังเกตดูว่าความเร็วในการเขียนข้อมูลในช่วงของขนาดไฟล์ที่ไม่ใหญ่ยาวมาก นัก เราจะเห็นว่ามันมีความสามารถด้านการเขียนได้ดีซึ่งดีกว่าความเร็วในการอ่าน ด้วยซ้ำไป ซึ่งมองดูแล้วก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับใช้เป็น Hard drive ตัวหลักสำหรับบู๊ต Windows ที่มันจะต้องมีการอ่านเขียนตลอดเวลา ซึ่งโดยมากแล้วก็ไม่ได้อ่านหรือเขียนไฟล์ขนาดใหญ่ๆแต่อย่างใดนั่นเอง ก็ลองเก็บไปเป็นตัวเลือกดูอีกสักหนึ่งทางเลือกแล้วกันนะครับ
บทความนี้ทำขึ้นเพื่อส่งงานในรายวิชา 0012006 อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เท่านั้น
credit : www.overzoneclock.com
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น