[RHL] Review Hardware Last

Seagate FreeAgent GoFlex Home 1TB


Seagate FreeAgent GoFlex Home 1TB
 

  กราบบ........สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซนครับ วันนี้ก็ยังคงจะเป็นเรื่องราวของการรีวิวอุปกรณ์ที่เกี่ยว ข้องกับ Storage กัน(อีกแล้ว) แต่จะเป็นรูปแบบของ Network Storage ที่ยังไม่เข้าขั้นความเป็นเป็น NAS ซักที เดียว จาก Seagate อีกหนึ่งรายกับผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ที่พยายามออกแบบอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มี ความยืดหยุ่นสูงใน การปรับเปลี่ยนการเชื่อมต่อกับรูปแบบการใช้งานในกลุ่ม FreeAgent GoFlex ที่ผมก็เคยไปรีวิวบ้างแล้วในเมื่อปี กว่าๆที่ผ่านมา ซึ่ง GoFlex Home ที่ผมได้รับมารีวิวจะเป็นรุ่นความจุ 1TB ที่รองรับผู้ใช้งานภายในวง Network จากเครื่องความพิวเตอร์หรืออุปกรณ์พกพา (Android และ iDevice) โดยหลักแล้วทาง Seagate ได้ออกแบบตัว GoFlex Home ให้มีความสะดวกในการใช้งานและการเชื่อมต่อเป็นอย่างยิ่ง ถ้าต้องการให้เจ้า GoFlex Home มี ความสามารถที่จะเชื่อมต่อทาง Wi-Fi ได้ ก็เพียงเอา GoFlex Home ไปเสียบกับ Wi-Fi Router ก็จะรองรับการ เชื่อมต่อทาง Wi-Fi ได้ทันทีแบบไม่ต้องตั้งค่าอะไรมากให้ปวดหัวด้วยครับ อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ทาง Seagate นั้นมีมา ให้ผู้ใช้ได้เลือกเสียเงินเพิ่มกับ Software Data BackUp ที่เข้าถึงและจัดการได้จากภายนอก แต่ถ้าไม่เสียเงินเพิ่ม ก็จะจัดการได้อยู่แต่ภายในวง Network เท่านั้น พูดไปตั้งเยอะแล้วลองมาดุความน่าสนในใจกับ GoFlex Home ดีกว่าครับ

Package & Bundled


แพ็คเกจของ GoFlex Home จะมาในรูปแบบสีดำตัดกับสี แดงที่ดูแตกต่างจาก GoFlex รุ่นอื่นๆ ของในกล่องผมไม่แน่ ใจว่ามีอะไรมาก แต่ชุดที่ผมได้รับมาทำการทดสอบนั้นก็มีแต่ เพียงหม้อแปลงไฟเลี้ยงพร้อมหัวเปลี่ยนใส่กับปลั๊กได้ทั่วโลก






Seagate FreeAgent GoFlex Home 1TB Detail


รูปลักษณ์ภายนอกนั้นถ้าว่ากันตามตรงก็ดูไม่ได้แตกต่างกับ GoFlex ตัวอื่นๆซักเท่าไร เพราะว่าทาง Seagate นั้นออกแบบ GoFlex ให้มีความยืดหยุ่นสูงต่อการใช้งาน เพียงสลับเปลี่ยนโมดูลการเชื่อมต่อ รูปแบบการใช้งาน นั้นก็สามารถเปลี่ยนไปได้ตามโมดูลที่ติดตั้งไป ถ้าที่บ้านมี GoFlex หลายๆตัวก็สามารถทำการสลับเปลี่ยนโมดูล กันใช้งานได้ด้วยเช่นกับกับตัว GoFlex ที่ใช้ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว ตัวอื่นๆครับ

ตัวบอดี้ภ่ยนอกนั้นเป็นการใช้พลาสติกสีดำทั้งหมด โดยส่วนของโมดูและการเล่นขอบต่างๆจะเป็นการใช้สีดำเงา จะมีส่วนพื้นผิวตรงกลางและส่วนหัวนั้นเป็นพลาสติกที่มีพื้นผิวเป็นหลุมๆไป ทั้วพื้นที่ของภายนอก

ด้านหน้าของตัวโมดูลจะมีไฟ LED สองจุด ที่คอยแสดงสถานการทำงานของ GoFlex Home

รายละเอียดด้านหลังก็ง่ายๆไม่มีอะไรซับซ้อนมาก ไล่จากซ้ายไปขวากันครับ โดยจุดแรกจะเป็นปุ่มพาวเวอร์เปิด-ปิด การทำงานของ GoFlex Home ถัดมาเป็นช่องสำหรับการเสียบหม้อแปลงไฟเลี้ยง ต่อไปจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย สำหรับ Network Storage คือพอร์ต RJ-45 ซึ่งเป็น Gigabit Lan ด้วยครับ สุดท้ายจะเป็นพอร์ต USB 2.0 ที่ จะทำให้สามารถช่วยแชร์การใช้งานเครื่องพิมพ์ในวงหรือว่าจะเอามาต่อกับ HDD Ext. USB 2.0 ก็ได้เช่นกันนะ 

การถอดแยกตัวระหว่างฮาร์ดดิสก์และโมดูลการใช้งานที่มีความแน่นหนาพอสมควร

ถ้าในอนาคต HDD 3 หรือ 4TB ราคาถูกลง ก็ซื้อ GoFlex USB 2.0 มาใส่แทนลงไปใน GoFlex Home ได้
READMORE
 

OCZ OCTANE S2 256GB

OCZ OCTANE S2 256GB 

สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซนในช่วงเดือนเมษายนที่มีความร้อนของอากาศในบ้านเรา แบบสุดขั้วหัวใจ แบบสุดๆ โดยเมื่อช่วงที่ผ่านมานั้นทาง OCZ ได้ทำการเปิดตัว SSD ในตระกูล OCTANE ที่มีการเป็นเปลี่ยนไป จากกระแสนิยมของตลาดมาใช้ชิพ Controller Indilinx Everest เป็นหลัก ก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดีในกลุ่มคนที่ ใช้งานโซลิตสเตทไดร์ท ประสิทธิภาพอาจะไม่ได้แรงสุดขั้วไปทุกอย่างแต่ในเรื่องความเสถียรและความแรง ที่ไม่ตก ลงในการใช้งานที่ได้รับการตอบรับที่ดีในตลาดกันพอสมควร แต่ว่า OCZ OCTANE อาจมีราคาสูงเกินไปต่อความ จุที่มีราคาแรงไปกับผู้คนที่ต้องการความประหยัดในด้านงบประมาณ โดยทาง OCZ ได้ออก OCZ OCTANE S2 ที่มีราคาต่อความจุถูกลงแต่มีประสิทธิภาพลดลงโดยลดลงมาเหลืออินเตอร์เฟส SATA II 3GB/s

                  OCZ OCTANE S2 ตัวที่ผมเอามารีวิวในวันนี้เป็นรุ่นความจุ 256GB ที่ตามสเป็คนั้นรองรับความ เร็วการเขียนข้อมูลสูงสุด 235 MB/s และการอ่านสูงสุด 275 MB/s ที่ความเร็วขนาดนั้นถ้าเทียบกับ SSD สมัยนี้ นั้นอาจดูไม่ได้แรงที่สุด แต่กับการใช้งานจริงนั้นก็ยังนับว่าแรงกว่าฮาร์ดดิสก์จานแม่เหล็กอย่างแน่ นอนไม่ต้องคิด อะไรมากให้วุ่นวาน โดยการเขียนข้อมูลแบบสุ่มที่ในโมเดลความจุ 256GB อาจไม่ได้แรงที่สุดแต่ไม่ได้ด้อยที่สุด

Package & Bundled


แพ็คเกจนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงกันเล็กน้อยสำหรับ OCZ ใน โมเดลที่ไม่มีตัวแปลงขนาดมาให้ในชุด ก็จะเป็นแพ็คเกจแบบ พลาสติกใสครับ โดยลักษณะลายยังคงมองแล้วเข้าใจชัดๆว่า นี่คือ SSD จาก OCZ ซึ่งในตระกูล OCTANE S2 ใช้เป็น สีฟ้า ของที่ให้มาในชุดจะมีเพียงคู่มือและสติกเกอร์ OCZ



SSD Detail


ภาพรวมภายนองเมื่อมองแล้วก็เข้าใจกันดีได้ว่ามันคือโซลิตสเตทไดรท์ ขนาด 2.5 นิ้ว ตามมาตรฐานของ HDD และ SSD ต้องบอกก่อนว่า OCZ ในบางรุ่นที่เป็นผลิตออกมาตั้งแต่ปลายปี 2011 จะมีการเปลี่ยนแปลงในส่วน ฝาครอบด้านหน้าที่ปกติจะใช้วัสดุอลูมิเนียมพ่นสีฝุ่นสีดำ เปลี่ยนมาเป็นพลาสติกสีดำไปบ้างแล้วที่ผมเห็นมาแล้ว



ฝาครอบด้านหลังที่ยังคงใช้อลูมิเนียมชุบนิกเกิลสีดำที่มีการติดป้าย Lable บ่งบอกข้อมูลเอาไว้ต่างๆ

อินเตอร์เฟสการเชื่อมต่อ SATA มาตรฐานในฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 และ 3.5 นิ้ว

ข้างในนั้นวันนี้ผมขอไม่แกะออกมาให้ชมเนื่องจากมันมี VOID รับประกัน ข้างในของ OCTANE S2 256GB นั้นโดยหลักแล้วใช้ Controller Indilinx Everest ส่วน NAND Flash เป็น Intel 25 nm แบบ MLC ที่ใช้นั้น น่าจะเป็นเกรดธรรมพื้นฐาน แต่อย่าลืมนึกด้วยว่า OCTANE S2 มีราคาต่อความจุที่ไม่ได้สูงมากเกินไป แล้วข้าง ในนี้ยังมี Cache 32MB เพื่อให้การใช้งานนั้นสามารถใช้งานได้ราบลื่นมากยิ่งขึ้นไปอีก



READMORE
 

Kingston Wi-Drive 16GB

Kingston Wi-Drive 16GB

กราบสวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซน(แบบงามๆ)กันอีกเช่นเดิมครับ ช่วงนี้รีวิวที่ออกมาจากการทำของ ผมนั้นจะเยอะไปทางด้านอุปกรณ์จักเก็บข้อมูลหรือ Storage มากกันไปซักเล็กน้อยครับ ซึ่งรีวิวแบบหน้าเดียวใน วันนี้ก็ยังคงเป็นการีวิวที่เกี่ยวข้องกัน Storage กันอีกเช่นเคย แต่ว่ามันเป็น Storage ที่มีรูปแบบการใช้งานที่มัน มีความแตกต่าง เพราะว่ามันคือ Kingston Wi-Drive ที่เป็น Storage ที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อในรูปแบบไร้สาย ที่หลายๆคนนั้นคุ้นหูกันดีในชื่อ Wi-Fi หรือ Wirless Lan ที่อุปกรณ์พกพารูปแบบต่างๆของสมัยนี้นั้นต่างพากัน รองรับตั้งแต่เกิดอยู่แล้ว ซึ่งความสามารถที่มีมานอกเหนือจากการเป็น Wireless Stroage ของเจ้าตัว Wi-Drive นั้นคือความสามารถในด้านการเป็น Router และ Access Point ได้อีกด้วย ที่ทำให้ Wi-Drive สามารถทำให้มี การรองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายกับผู้ใช้งานสามคนพร้อมกันได้แยกกัน ก็ลองมาดูว่า Wi-Drive นั้นได้มีความ น่าสนใจกับการใช้งานในชีวิตประจำวันรูปแบบต่างๆมาเพียงไหนครับ

Package & Bundled
แพ็คเกจมาในโทนขาวตัดกับสีดำ ที่ดูแล้วให้ความรู้สึกหรูหรา ดีมาก ของในกล่องที่มีมาให้จะมีเพียงแค่คู่มือการใช้งานเบื้อง ต้นและสาย USB 2.0 หัวต่อแบบ Micro USB ทั่วไปครับ
Kingston Wi-Drive 16GB Detail
 
แพ็คเกจมาในโทนขาวตัดกับสีดำ ที่ดูแล้วให้ความรู้สึกหรูหรา ดีมาก ของในกล่องที่มีมาให้จะมีเพียงแค่คู่มือการใช้งานเบื้อง ต้นและสาย USB 2.0 หัวต่อแบบ Micro USB ทั่วไปครับ

Kingston Wi-Drive 16GB Detail
รูปลักษณ์โดยภาพรวมของ Wi-Drive นั้นจะดูเหมือนและมีขนาดพอกับ Smart Phone สมัยนี้เครื่องนึงครับ โดย ทางด้านสีสรรค์นั้นจะเป็นสีดำเงาตัดขอบกันสีเทาเพื่อให้ดูโดดเด่นขึ้นมาได้ บ้างครับ โดยพอดีภายนอกนั้นทำจาก พลาสติกล้วนๆแต่ก็ยังคงมีความดูดีและความรูสึกแข็งแรงมั่นคงดีใช้ได้กับ Wi-Drive ความจุ 16GB ตัวนี้ครับ
ด้านด้านจะมีโลโก้ Kingston และ Wi-Drive สกรีนทีเทาเอาไว้อย่างชัดเจน

 
Lable รายละเอียดต่างๆของ Wi-Drive 16GB ตัวนี้ จากการออกแบบของฝั่งด้านล่างหรือหลังนั้น ลองสังเกตุดู ให้ดีๆว่ามันมีตุ่มนูนออกมาทั้งสี่มุม ซึ่งเป็นการออกแบบให้มีฐานรองวางตัว Wi-Drive กับโต๊ะเอาไว้ด้วยครับ
 
ปุ่มพาวเวอร์ที่มีไฟ LED แสดงสถานะการทำงาน ส่วนข้างๆขวาจะเป็นสวิตรีเซ็ตค่าคอนฟิกเมื่อจิ้มแช่ไว้
 
การเชื่อมต่อ Mini USB 2.0 สำหรับการชาร์ตพลังงานและการจัดการข้อมูลภายใน Wi-Drive


ไฟสีฟ้าสองดวงนั้นจะเป็นการแสดงสถานะการพร้อมกับการเชื่อมต่อ Wi-Fi สำหรับหน้าที่ของ Router และ Access Point ไฟสีเขียวที่อยู่ด้านล่างโลโก้ Kingston ที่ในภาพนั้นอาจมองไม่เห็นจัดมากนักจะเป็นไฟแสดง สถานะการทำงานของ Flash Memory ที่อยู่ภายใน Wi-Drive ด้านข้างจะเป็นไฟพาวเวอร์ที่ในภาพมันเป็นสี แดงเนืองจากแบตใกล้หมดแล้ว ถ้าใช้งานตอนพลังงานเต็มๆก็ไฟสีเขียว เมื่อเข้าสู่ช่วงแบตกำลังหมดแล้วไฟสี แดงจะติดสลับเป็นระยะตามแล้วแต่ว่าแบตใกล้หมดจนให้รู้สึก
รำคาญเล็กน้อยเมื่อ นั่งมองอยู่ตลอด ถ้าแบตใกล้ จะหมดแล้วไฟสีแดงจะติดสว่างตลอดแทนไฟสีเขียวครับ


 
Kingston Wi-Drive App


ก่อนเริมต้นการใช้งาน Wi-Drive ก็ต้องทำการโหลดมาจาก Google Play หรือถ้าใครใช้ iPhone หรือ iPad ก็ต้องจัดการเข้าไปโหลดจาก App Store ครับ ซึ่งบ้านผมมีแต่ Android เลยมีตัวอย่างจากบนหุ่นเขียวเท่านั้น
ก่อนเข้า Wi-Drive App ต้องทำการเชื่อมต่อ Wirless Lan เข้ากับตัว Wi-Drive กันก่อน ถ้ายังไม่เคยใช้งานนั้น ชื่อ SSID ของ Wi-Drive ก็คือ "Wi-Drive"

 
เมื่อเข้ามาถึงแล้วจะเจอกับไฟล์ต่างๆที่ได้ใส่เข้าไปใน Wi-Drive แต่พอดีผมแบ่งเป็น Folder เอาไว้เลยเห็นเป็น แบบตามภาพ จะยัดไฟล์เข้าไปโดยไม่จัดกลุ่มก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะ Wi-Drive สามารถจัดการแยกหมดหมูของ ไฟล์แต่ละประเภทให้ได้ รวมไปถึงการเข้าไปในสู่โหมดของการปรับแต่งค่าคอนฟิกของตัว Wi-Drive ครับ

พอเลือกการปรับแต่งนั้นตัว App จะให้เลือก Browser ที่ต้องการใช้ การตั้งค่านั้นจะเป็นรูปแบบ HTML


 
ถ้าจะปรับแต่งบนเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์พกพาอื่นๆที่มี Browser ที่รองรับ HTML ก็เข้าไปทาง http://192.168.200.254 ได้เช่นกันครับ


การตั้งค่าการปล่อยสัญญาณ Wirless Lan ส่วนของความเป็น Router ที่รองรับความปลอดภัยด้วย


 
การอัพเดท Firmware ที่สามารถอัพเกรดได้ด้วยตัวมันเอง


 
เมื่อทำการคอนฟิกค่าต่างๆนั้นตัว Wi-Drive จะทำการรีบูต เพื่อรันตัวเองขึ้นมาใหม่ โดยใช้ค่าคอนฟิกที่จัดเก็บ ในรูปแบบของไฟล์ HTML





ก่อนจะสรุปนั้นผมขอแจ้งให้ทราบก่อนว่า วันนี้ผมจะไม่ทดสอบอะไรที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อกับตัว พอร์ต USB 2.0 ทั้งนั้น เพราะว่าลองๆดูแล้วความรู้สึกเหมือนใช้ Flash Drive Kingston DT ถ้าคิดจะซื้อเจ้าตัว Wi-Drive ไว้พกพาข้อมูลแล้วใช้แต่พอร์ต USB ผมแนะนำว่าเอาค่าตัวของ Wi-Drive 16GB ไปซื้อ DT 16GB ซัก 5 ตัวจะดีกว่านะ แต่ยังไงเสียแล้ว Wi-Drive ก็ต้องจัดการข้อมูลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์โดยการเชื่อมต่อกับตัว พอร์ต USB 2.0 เท่านั้น ถ้ามันสามารถจัดการข้อมูลภายในผ่าน Wi-Fi ได้จะแจ่มสุดๆ

                  จากการใช้งานนั้นตัว Wi-Drive จะมีความร้อค่อนข้างสูงในช่วงหัวหรือด้านบนตามภาพที่ผมเอามือ จับเอาไว้ แต่ก็ไม่ใช่ปัญหากับการใช้งานแต่อย่างไร ซึ่งตัว Wi-Drive จะมีข้อเสียที่บางคนนั้นอาจรับไม่ได้เลยคือ เวลาถ้าต้องการชาร์ตพลังงานจากการเชื่อมต่อพอร์ต USB จากเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะไม่สามารถใช้งานไปได้ พร้อมๆกัน ถ้าต้องการชาร์ตไฟไปและใช้งานไฟด้วย ต้องต่อกับที่ชาร์ต USB ไม่งั้นก็หาสาย USB แบบ Charge Only มาใช้ครับ ถ้าโหดๆหน่อยก็เอาสาย Mini USB 2.0 ที่มีอยู่แล้วมาตัดสายหรือปิดหน้าสัมผัส Data ก็ได้ครับ  

 
Conclusion ! 

Smart Phone หรือ Tablet สมัยนี้อาจะดูว่ามันสามารถพกพาข้อมูลไป ได้เยอะแต่บางที Smart Phone หรือ Tablet หลายๆตัวก็มีความจุในตัวที่น้อยลง ซึ่ง Wi-Drive ก็เป็นพระเอกอีก ตัวที่สามารถช่วยเติมเต็มให้ Smart Phone หรือ Tablet สามารถพกพาข้อมูลไปได้ยิ่งขึ้น รวมไปถึงยังสามารถ รองรับผู้ใช้งานได้สูงสุดสามคนที่ แต่ผมว่าจุดสำคัญเลยบางคนก็มี Smart Phone หรือ Tablet มากกว่าหนึ่งแน่ๆ เวลาสลับเครื่องใช้ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องจากจัดการไฟล์ลงใน Smart Phone หรือ Tablet ให้เหมื่อนกันทุกเครื่อง โดยก็ใช้ Wi-Drive เป็นตัวจัดเก็บข้อมูลเลยซะ วันไหนจะเปลี่ยนเครื่องไปนอกบ้านแล้วพกพา Wi-Drive ไปด้วย ข้อมูลที่ต้องการใช้งานนั้นก็ยังคงอยู่ใน Wi-Drive เหมือนเดิม การ ใช้งานโดยไม่ชาร์ตพลังงานจากเท่าที่ผมได้ลองๆ มานั้นจากการสตรีมมิ่งไฟล์วีดีโอไปยัง Smart Phone สามเครื่อง ก็สามารถใช้งานได้ประมาณห้าชั่วโมงกว่าแบบ ไม่มีพัก ซึ่งถ้าเป็นการเชื่อมต่อเพียงเครื่องหรือสองเครื่องน่าจะใช้งานได้นานกว่า นี้ครับ ส่วนเรื่องราคาของเจ้าตัว Kingston Wi-Drive 16GB ผมนั้นก็คงไม่ทราบกันอีกเช่นเคย -_-" 





READMORE