ASUS Xonar Essence One

ASUS Xonar Essence One

สวัสดี ชาวโอเวอร์คล๊อกโซนกันทุกท่าน เพิ่งผ่านปีใหม่มาไม่กี่วันเผลอแป๊ปเดียวก็เข้าใกล้วันปีใหม่ของไทยที่หลายๆ คนคงจะ ชอบกันเพราะว่าได้ออกไปสาดน้ำให้รู้สึกเย็นชื่นไปกันได้บ้างครับ วันนี้สิ่งที่ผมจะพามาพบเจอกันชาวโอเวอร์คล๊อกโซนที่ จะเป็นอยู่ใน ส่วนของ Sound System ที่นานนั้นจะมีอะไรมานำเสนอซักที ก็อันเนื่องมาจากอุปกรณ์ทางด้านเสียงนั้นไม่ใช่ว่าจะเป็นของที่จะมา เปลี่ยนกันได้บ่อยๆเหมือนของอื่นๆ ซึ่งวันนี้เราจะได้มาพบเจอกับ ASUS Xonar Essence One ที่จะเป็น DAC และแอมป์หูฟัง ในตัวด้วยกัน โดยการวางตลาดนั้นจะเน้นไปทางกลุ่มผู้ฟังเพลงที่เน้นไปในด้าน audiophile โดยใน Xonar Essence One ได้ คัดสรรค์อุปกรณ์ชั้นนำที่มีคุณภาพสูงสุดกับอุปกรณ์ทางด้านเสียง ที่การออกแบบของ Xonar Essence One เป็น USB DAC ของโลกที่สามารถทำการ Upsamples ได้สูงถึง 8 เท่า เพื่อประสบการณ์ของดิจิตอลมิวสิกแบบสเตริโอแบบที่สุดตามหูของคนฟัง ด้วยการรองรับการเปลี่ยน OP-Amp ที่ 11 จุด เพื่อให้เสียงที่ออกมานั้นได้บุคลิกเสียงที่ถูกหูของผู้ใช้งานมากที่สุด ASUS Xonar Essence One สเป็คหลักๆแล้วที่ดูก็มันเป็น USB DAC Hi-end อีกตัวนึงในตลาดที่ออกมารองรับ ผู้ที่ชื่นชอบการฟังเพลงผ่านทางหูฟังด้วยอีกทางนึง ซึ่งตามสเป็คแล้วมันจะมีค่า SNR ที่สูงถึง 120 dB ทำให้เสียงที่ออกมานั้นใสได้ รับรายละเอียดของเสียงอย่างเต็มที่แล้วยังมีเสียงรบกวนที่น้อยมาก ทางด้านของแอมป์หูฟังที่รองรับการขับหูฟังได้สูงสุด 600 โอม จะ เป็นหูฟังที่ขับออกยากๆ ASUS Xonar Essence One ก็สามารถขับพลังเสียงให้ออกมาได้อย่างเต็มที่ไม่อายใครกัน ส่วนในเรื่อง ของความน่าสนใจอื่นๆนั้น ก็ตามมาดูกันว่า ASUS Xonar Essence One จะมีความน่าสนใจที่อยากจะรีบควักเงินซื้อมาแค่ไหน

Package & Bundled

ตัว แพ็คเกจที่ออกแบบมาโทนสีดำตัดกับสีทอง สไตล์ Xonar ในโมเดลระดับ Hi-End ของในกล่องผมไม่ขอถ่ายรูปมาให้ชม เนื่องจาก ตัวที่ผมได้มานั้นมันเป็นตัวที่ ASUS ใช้ออกงานและส่งสื่อไปทดสอบบ้างแล้ว ของในกล่องอาจมีหล่นหายไปเยอะ ถ้าเทียบกับตอนที่ผม ได้เห็น ASUS Xonar Essence One วันแรกๆที่มันมาถึงสำนักงานเอซุสประเทศไทย - Driver CD x 1 - 6.3mm to 3.5mm stereo adapter x 1 - Audio Precision (AP) test report x 1 - User manual x 1 - USB cable x 1 - Power cord x 1

ASUS Xonar Essence One Outside Detail

รูป ลักษณ์ภายนอกที่ดูแล้วว่ามันก็เป็น DAC หรืออุปกรณ์สำหรับเรื่องระบบเสียงได้อย่างชัดเจนเป็นอย่างยิ่ง บอดี้ภายนอกรอบตัวมัน ทำมาจากอลูมิเนียมพ่นทราบแบบเนื้อละเอียด มีเพียงหน้ากากด้านหน้าที่เป็นการขัดลายชุบสีดำ เพื่อให้เห็นความแตกต่างและดูดีมาก ขึ้นสำหรับด้านหน้าของตัว DAC ด้านบน(หลังคา) ที่มีการสกรีนลายโลโก้ Xonar สีทองเอาไว้ให้ดูโดดเด่นสวยงามมายิ่งขึ้นครับ

ด้านล่างของตัวเครื่องที่ไม่มีอะไรมาก จะเห็นได้ว่ามันมีตุ่มยางฐานรองวางติดเอาไว้อยู่ทั้งสี่มุมของตัวเครื่อง

ภาพรวมของภายนอกที่ออกแบบเน้นไปทางด้านความเรียบง่าย แต่ก็ยังมีลูกเล่นการตัดขอบมุมต่างๆ เพื่อให้ดูสวยงามดีครับ

การควบคุมต่างของการทำงานนั้นจะอยู่ด้านหน้าทั้งหมด ปุ่มต่างๆจะใช้เป็นสีเงิน เพื่อให้ตัดกับบอดี้หลักของตัวเครื่องที่เป็นสีดำครับ - ปุ่มพาววอร์ด ที่จะมีวงแหวนไฟ LED สีฟ้าเพื่อแสดงสถานะการทำงานของตัวเครื่อง - ปุ่ม Upsamples เมื่อฟังก์ชั่นนี้ทำงานแล้วจะมีไฟ LED สีฟ้าแสดงด้านข้าง - ปุ่มเลือก Input ระหว่าง Coaxial, Toslink และ USB ที่จะมีไฟ LED สีฟ้าแสดงว่าตอนนี้ตัว DAC กำลัง Input จากทางไหน - ปุ่ม Mute ที่คงทราบกันดีอยู่แล้ว่ามันคือให้เสียงเงียบชั่วขณะนั้นๆ โดยเมื่อสั่ง Mute แล้วไฟที่ Input จะแสดงเป็นสีแดงครับ - ลูกบิดระดับเสียงของการปล่อยสัญญาณทาง RCA และ Balanced Output ที่เอาไว้ปรับระดับเสียงแทน Pre Amp ได้ - ลูกบิดระดับเสียงของช่องหูฟัง ที่จะแยกการทำงานออกจากระดับเสียงหลัก - แจ็คหูฟังขนาด 6.3 mm ถ้าใช้หูฟังขนาด 3.5 mm ในกล่องขายจริงก็มีตัวแปลงขนาดให้ ถ้าไม่มีก็ซื้อเอาไม่กี่บาทเอง

ไฟแสดงผลขณะการทำงาน

พอร์ตการเชื่อมต่อด้านหลัง ถ้ามองแล้วอาจะดูว่ามันเป็นอุปกรณ์เครื่องเสียงก็ได้ นี่มันยังมีพอร์ต USB เลยยังใช้กับเครื่องคอมได้ครับ - RCA Stereo Output - Balanced Output - Digital S/PDIF Input - Coaxial - Digital S/PDIF Input - Toslink - USB 2.0 Input - IEC Socket (power ac in)

หน้าถัดไปจะเป็นรายละเอียดเจาะลึกของ ASUS Xonar Essence One

ASUS Xonar Essence One Inside Detail

เมื่อ เห็นภาพข้างในเต็มๆ ถ้าผมบอกว่าทางเอซุสนั้นได้คัดเลือกอุปกรณ์ชั้นเลิศเข้ามาใส่ข้างใน คงจะมีคนส่วนมากนั้นจะเห็นด้วยกับ คำพูดของผมนะ ถ้ามองแบบผ่านๆแล้วนั้นน่าจะเข้าใจถึงคามสลับซับซ้อนของการออกแบบวงจรข้างใน ของมันได้เป็นอย่างดีครับ

ในส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายที่จะเห็นเด่นชัดว่ามีการใช้หม้อแปลงไฟแบบเทอร์รอยด์ คาปาซิเตอร์ในส่วนนี้ใช้ Nichicon HE Series ที่ดูภาพรวมของพาเวอร์ซัพพลายที่ออกแบบมาได้ค่อนข้างดีมากแล้วรวมไปถึงการ เก็บงานที่ทำออกมาได้สวยงามเรียบร้อย

มา ถึงแผ่น PCB ในฝั่งของระบบเสียง ที่จะถูกแยกออกจากพาเวอร์ซัพพลายแบบขาดกันไปเลย การแบ่งส่วนการทำงานที่มองแล้วจะ เห็นได้ว่ามันมีความละเอียดซับซ้อนมาก ในส่วนเรื่องของชิพอะไรนั้นมีน่าที่อะไรเดี๋ยวผมจะสรุปให้ได้อย่างกันอีก ครั้งดีกว่าครับ

OP-AMP ทั้งหมดที่ใช้บน Xonar Essence One จะมีทั้งหมด 11 ตัว ตามแผนผังในภาพแล้วจะแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆ คือ หมายเลข 1 และ 2 จะถูกติดตั้ง Texas Instruments NE5532P แล้วในส่วนของหมายเลข 3 และ 4 ถูกติดตั้ง National Semiconductor LM4562NA มาให้จากโรงงาน ซึ่งในแต่ละเบอร์สามมรถเปลี่ยน OP-AMP แบบ Dual ได้ตามใจชอบครับ โดยในส่วนของเบอร์ 3A,3B และ 4 ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนให้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าอยากให้บุคลิกเสียงที่ออกมานั้นจะเป็นแบบ ไหนครับ ถ้าคิดไม่ออกว่าจะเปลี่ยน OP-AMP เบอร์ไหนดี ก็ลองดูตามคำแนะนำของ ASUS ได้ว่าเบอร์ไหนเปลี่ยนตรงไหนแล้วเสียง ที่ออกมาจะเป็นบุคลิกแบบไหน จะได้ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยนให้เปลืองมาก แต่ถ้าจะเปลี่ยนเบอร์ดีๆแพงๆทุกจุด คงมีกินมาม่าได้เป็นเดือน

ในส่วนของแอมป์หูฟังถึงแม้จะวางอยู่บนแผ่น PCB เดียวกับแผ่นหลัก แต่การทำงานของมันนั้นถูกแบบส่วนออกไปอย่างชัดเจน

ในแต่ละ Output จะมีรีเลย์ NEC UC 2-4 ที่เอซุสชอบใช้ในการ์ดเสียง Xonar มาทำหน้าที่จัดการในส่วนนี้ครับ

C-Media CM6631 High-Definition Sound Processor up to 192Khz/32bit (USB 2.0)

AKM AK4113VF 24-bit stereo digital receiver up to 192Khz/24bit (Coaxial and Optical)

Analog Devices ADSP-21261 DSP 32bit 150mhz

Burr Brown PCM1795 D/A converters (123dB SNR, Max. 192kHz/32bit)

Relay NEC UC 2-4

National Semiconductor LM4562NA Dual High Performance, High Fidelity Audio Amplifier

Texas Instruments NE5532P Dual Low-Noise Operational Amplifier

WIMA film capacitor

Nichicon Capacitors Audio KT(M) Series

หลัก การทำงานคร่าวๆที่ผมเดาเอาจากการส่องดูลายบนแผ่น PCB นะครับ ถูกผิดยังไงก็อภัยด้วย เริ่มต้นตัวรับสัญญาณ เสียงดิจิตอลทางพอร์ต USB จะเป็นหน้าที่ของชิพ C-Media CM6631 หรือทางพอร์ต Coaxial และ Optical จะเป็นหน้าที่ ของตัวชิพ AKM AK4113VF หลังจากที่ได้รับสัญญาณเสียงแบบดิจิตอลเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะส่งต่อให้ชิพ Analog Devices ADSP-21261 เป็นตัว Upsamples สัญญาณเสียง (ถ้าไม่อัพก็คงแค่วิ่งผ่าน) ตัวหัวใจหลักในการแปลงสัญญาณเสียงดิจิตอลก็ ยังคงเป็น Burr Brown PCM1795 D/A converters ที่จะมีชิพสำหรับแปลงสัญญาณเสียงของด้านซ้ายและด้านขวาแยกกัน ออกไป เพื่อคุณภาพเสียงที่ดีที่สุดครับ หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ OP-AMP NE5532P (ตามเผนผังก็เบอร์ 1) ถัดมาก็จะเข้าสู่ OP-AMP NE5532P (ตามเผนผังก็เบอร์ 2) เพื่อจัดการเสียงรบกวนอีกชั้น สุดท้ายจะเป็นหน้าที่ของ OP-AMP LM4562NA ใน แต่ละจุด Output สัญญาณเสียงที่ผู้ใช้นั้นได้ใช้งานมันอยู่ (ตามเผนผังเป็นเบอร์ 3 หรือ 4)

System Setup

ไฟล์เพลงเป็น Lossless ที่ Rip มาจาก CD เป็นหลัก โดยเริ่มต้นผมจะเขียนหัวข้อ Coaxial เน้นหนักที่สุด แล้วหัวข้ออื่นๆ จะเขียนแบบหักล้างเอาครับ ก่อนที่จะเริ่มต้นจริงๆ ผมต้องบอกก่อนว่าผมไม่ได้นักเขียนบทความด้านเครื่องเสียงอะไรทั้งนั้น คำศัพท์ ที่ใช้นั้นก็เอาเป็นแบบภาษาบ้านๆที่ผมเข้าใจง่ายละกัน - Int Amp NAD C315BEE + Speaker From Microlab PRO1 - Int Amp NAD C316BEE + Speaker B&W 685 - Int Amp NAD M3 + Speaker B&W 805D - Int Amp NAD 3020i + Speaker B&W 805S - Bose M2 - Sennheiser PC 350 Xense Edition headset - Tt eSPORTS - Shock - Earbud OPPO PK2.5

Coaxial Input

ทาง ด้านความถี่ย่านเสียงสูง ที่เป็นในส่วนของรายละเอียดต่างๆของเครื่องคนตรี ถ้าพูดถึงเรื่องของความใสเนี่ยมันใสจนผม ไม่รู้จะพูดออกอธิบายยังไงดีแล้วครับ การแสดงออกถึงรายละเอียดยิบย่อย ถ้าว่ากันตามตรงแล้วมาทั้งหมด บางทีเสียงเวลาที่นักคนตรี รูดนิ้วเลื่อนเปลี่ยนคอร์ดกีต้าร์ที่ยังสามารถแสดงออกมาได้ชัดเจน รายละเอียดของเสียงดนตรีที่สามารถแบ่งแยกออกมาได้ชัดเจนว่ามัน อยู่ห่างจากความเงียบสงัดของ Background แต่ว่าความรู้สึกของผมที่รายละเอียดเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นมันควรที่จะแยก Layer ออกมาได้ชัดเจน แต่สำหรับที่ผมลองๆฟังมามันเหมือนบางทีจะแยกกันออกมาไม่ขาดเหมือนเวลาฉีกขนม ชั้นออกมากินเป็นแผ่น แต่มัน ก็มีข้อดีที่มันแยก Layer ไม่ฉีกขาด คือสามารถนั่งฟังเพลงได้ทั้งวันแบบไม่รู้สึกเวียนหัวเหมือนบาง System ที่ผมเคยๆลองฟังแล้ว มันให้ความรู้สึกว่าเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นมันมี Layer เป็นของตัวเอง โดยรวมเป็นไปในลักษณะใสๆฟังแล้วดูโปร่งสบายแต่มาเต็มไป ด้วยรายละเอียดที่ไม่มีขาดหายไป ทาง ด้านความถี่ย่านเสียงกลาง นั้นก็คือเสียงร้องของนักร้อง ที่ต้องบอกกันตามตรงว่าถ้าใครชอบเสียงร้องแบบพุ่งๆ DAC ตัวนี้ไม่ควรพลาดกันได้อีกตัว น้ำเสียงที่ออกมานั้นให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติดีมาก (แต่ปลายๆเสียงฟังดีๆแล้วมันเหมือนจะโดนปรุง แต่งมาเล็กน้อย) เสียงกลางที่ฟังแล้วดูโปรงสบายๆนั่งฟังนานๆก็ไม่เบื่อ แต่ถ้าเปิดระดับเสียงที่ดังมากเกินไปฟังนานๆแล้วมีล้าหูได้แน่ เพราะว่าพลังเสียงที่ฟังแล้วให้ความรู้สึกเหมือนไปยืนเกาะขอบเวทีแสดงสด บางทีเวลาผมลองฟังต้องมีขยับต่ำแหน่งเก้าอี้ถอยหลังไป บ้างเล็กน้อย ก็จะได้เสียงกลางที่มันพุ่งมากระทบแก้วหูจังๆ แต่ถ้าใครชอบเสียงกลางที่พุ่งเหมือนจะทะลุแก้วหูไปก็ลองขยับต่ำแหน่ง เก้าอี้ที่นั่งฟังเพลงดูก็แล้วกัน กระแทกแก้วหูสะใจดีไปอีกแบบครับ ทาง ด้านย่านความถี่เสียงต่ำ ก็คือเสียงเบส ที่ฟังแว๊บแรกผมมีความรู้สึกว่ามันโดนปรุงแต่งมาพอสมควร แต่ถ้าใครชอบเบส ที่มีพลังเป็นทุนเดิมอยู่แล้วไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมาก ถ้าไม่ชอบเบสก็แก้เรื่องสายสัญญณและสายลำโพงเอาก็แล้วกัน โดยรวมพลังของ เสียงเบสที่ฟังดูแล้วมีอิมแพ็คที่มีกำลังดีมาก จังหวะการยุบและคืนตัวของกรวยลำโพงที่ผมสังเกตุดูว่ามันลงลึกและกระชับดี แต่ถ้าบาง ทีที่ผมลองเปิดระดับเสียงแทบดังลั้นบ้านกรวยลำโพงบางตัวเหมือนเกิดอาการมึนๆ ไปบ้าง (คืนตัวไม่ทัน) ทำให้เสียงที่มันออกมาฟังดู แล้วปลายมันติดบวมๆมาไปนิดหน่อย แต่โดยรวมแล้วเบสกระชับมีพลังเสียงที่ดีมากครับ จะฟังเพลงสนุกๆหรือเพลงเศร้าๆก็ทำออกมา ได้ดี ภารวมของการฟังเพลงแล้วมันฟังดูออกแนวฟังสบายๆได้ครบกันทุกย่านความถี่ โดยเสียงที่ออกมานั้นฟังดูแล้วโปร่งสบาย แต่ดันมีเบส ที่ผมลองๆฟังมานะเสียงมันดูเหมือนจะไปทางด้านทางดิจิตอลมากในช่วงของการ Upsamples ถ้าเป็นการเปิดในแบบ ปกติที่ไม่มีการ Upsamples ก็ฟังดูแล้วแนวอนาล๊อกติดๆปลายดิจิตอล (ถ้าใครชอบอนาล๊อกเต็มๆ แนะนำว่าไปเล่นเข็มและแผ่นเสียง แบบโมโนดีกว่าครับ) ความสะอาดของเสียงในทุกย่านความถี่ที่ ASUS Xonar Essence One ตอบสนองได้ดีมากครับ อันเนี่อง มาจากการออกแบบวงจรและการคัดเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ ในเรื่องของมิติหรือ Stage เสียง ตอนที่แกะข้างในคงเห็นแล้วว่ามันมี DAC ในแต่ละข้างไป ทำให้เสียงที่ออกมานั้นให้ความรู้สึกว่ามันสามารถแยกซ้ายและขวาออกมาได้ค่อน ค่างสมบูรณ์แบบมาก (ถ้าฉีกแยกตัว ออกกันไปเลยจะสุดยอดสุดๆ) แต่อีกสิ่งนึงที่ผมรู้สึกแปลกใจกับ Essence One ในเรื่องนิสัยความเป็นคนขี้ฟ้องเนี่ยแหละครับ ที่ผม ได้ลองเปิดไฟล์ MP3 256-320Kbps หลายๆเพลง ถ้าเป็นไฟล์เพลงที่ Rip มาดีๆฟังแล้วก็รู้สึกว่ามันสามารถฟังได้ลื่นหูพอสมควร ไอ้ที่ผมแปลกใจก็คือว่าปกติถ้ามันได้เป็นคนขี้ฟ้อง พวกรายละเอียดเครื่องคนตรีก็ต้องมีหายๆไปบ้าง กลับกลายเป็นว่าบน Essence One จะมีเพียงในเรื่องของรายละเอียดเครื่องดนตรีในแต่ละชิ้นที่บางทีฟังดูแล้ว เหมือนแยกออกมาไม่ให้ได้รู้สึกว่า เครื่องดนตรีแต่ละ ชิ้นมันแบ่งออกเป็น Layer ของตัวมันเองเท่านั้นเอง

Optical Input

โดยภาพรวมการฟังเพลงผ่านทางการเชื่อมต่อ Optical ถ้าไม่ฟังเทียบกันจริงๆจังๆดูเหมือนว่ามันจะไม่ต่างกับ Coaxial เท่าไร แต่ถ้าฟังดูดีๆแบบตั้งใจลองสลับเปลี่ยนสายสัญญาณหลายๆเส้นเทียบกันแล้ว เหมือนกับว่า Optical รายละเอียดของต่างๆของ เครื่องดนตรีที่ฟังดูแล้วใสน้อยลงไปหน่อย ,พลังของเสียงกลางที่ออกมาไม่เต็มที่และความใสหายลง รวมไปถึงเรื่องของเสียงเบสที่ฟัง แล้วเหมือนก่อนวันอัดจริงซ้อมมากเกินไปแล้วแรงขากับแขนลดลงไปจากปกติ แต่ถ้าใครฟังแล้วแยกไม่ออกผมก็ดีใจด้วยนะครับ จะได้ ไม่ต้องมาเปลืองเรื่องสายสัญญาณ มีอะไรต่อไปเสียงมันก็ดีหมดแหละถ้าฟังแบบไม่คิดอะไรมาก

USB Input

การฟังเพลงโดยกมรเชื่อมต่อ USB นั้นภาพรวมนั้นจะมีความแตกต่างกับการเชื่อมต่อ Coaxial อยู่พอสมควรเลยทีเดียว ซึ่งการเชื่อมต่อ USB นั้นจะให้ Stage และความถี่ย่านต่างๆที่ฟังแล้วดูโปร่งสบายมากกว่า ถ้าฟังสลับๆเทียบกันไปเทียบมันมาแล้ว ทำเอาให้รู้สึกว่า Coaxial มัน Dark ไปเลยครับ ทั้งที่มันก็โปร่งสบายอยู่แล้ว ถ้าใครชอบ Stage เสียงแบบกว้างๆนั้นต้องทำใจลอง ฟัง USB ดู ที่ผมว่าหลายๆชุดที่ผมลองนั้นบางทีมันก็กว้างเกินไปฟังนานๆแล้วชวนเวียนหัว แต่กลับบางชุดเครื่องเสียงที่ฟังดูแล้วมัน กว้างกำลังดีทั้งที่ตอนต่อ Coaxial ฟังดูเหมือนว่ามันจะแคบไปเล็กน้อยครับ ส่วนทางด้านเสียงกลางและเสียงต่ำ ถ้าเทียบกับตอนที่ เป็นการเชื่อมต่อ Coaxial มันเหมือนจะลดความเข้มข้นลงไปเล็กน้อย อารมณ์เหมือนเวลาชงกาแฟที่ปกติใส่ไปสามช้อน พอมาฟังทาง USB มันเหมือนใส่กาแฟลงไป 2 ช้อนกับ 1/5 ของช้อน ก็ถ้าไม่เทียบกันแบบบ้าคลั่ง ก็จะไม่ได้เห็นความแตกต่างอะไรมากมายนักครับ

Headphone Amp

การฟังเพลงบนหูฟังผ่านจากแอมป์หูฟังที่อยู่ใน Xonar Essence One ทีแรกผมตั้งใจจะเขียนแบ่งออกเป็นสามส่วน แยกกันออกไป อันนี้ไม่ใช่ข้ออ้างนะผมยัด In-Ear จนเลือดออกหูตอนนี้หมอสั่งห้ามไม่ให้ใช้หูฟังใดๆทั้งสิ้น แต่เพื่อที่จะเขียนรีวิวตัว Xonar Essence One มันจบผมก็ต้องขออนุญาติคุณหมอแอบใช้ฟังหูหน่อย (หมอคนนี้แกอ่านโอเวอร์คล๊อกโซนทุกวันครับ) โดย ภาพรวมของบุคลิกเสียงนั้นก็ไม่ได้มีความแตกต่างอะไรกับการฟังบนเครื่องเสียง หรือลำโพงแต่อย่างไร ซึ่งก็ต้องบอกกันตามตรงว่าตัว หูฟังแต่ละตัวมันก็ให้ความแตกต่างกันไปครับ เรามาว่าเรื่องกำลังขับกันต่อที่ Xonar Essence One เล่นซะผมอึ่งมาก เพราะว่า ความสามารถในการขับหูหังที่บางตัวผมว่ามันขับออกให้หลุดยากมากที่ปกติผมใช้ กับ Amp NAD C315BEE แต่เมื่อผมมาลอง เทียบกับการฟังบน Xonar Essence One รู้สึกว่ามันขับได้สุดๆจริงๆครับ เอาเป็นว่าถ้าเป็นหูฟังแบบทั่วไปที่กำลังขับที่มีเผื่อเอา ไว้กันแบบเหลือๆ ถ้าเป็นหูฟังที่ขับยากจริงๆกำลังขับสูงสุดที่ 600 โอม คงจะเป็นอะไรที่ต้องบอกว่าสบายๆแล้วครับ

Conclusion !

ก่อน ถึงช่วงบทสรุปผมต้องออกตัวกันอีกตามเคยว่าวันนี้ผมคงอาจะเขียนไม่ได้ละเอียด เจาะลึกอะไรกันเต็มที่มากครับ ที่มานั้น ผมก็ใช้กำลังภายในเล็กน้อย เพื่อให้มันมาถึงมือผมเพื่อเอามารีวิวให้ชาวโอเวอร์คล๊อกโซนได้ดูกันครับ ภาพรวม เรื่องของเสียงผมคงไม่มี อะไรเพิ่มเติมกันแล้วแหละ เขียนมาซะยืดยาวไปแล้วครับ โดยภาพรวมของ ASUS Xonar Essence One เป็นการออกมาที่ตอบ สนองความต้องการกลุ่มนักฟังเพลงและ audiophile ที่ไม่ได้ยึดติดกับความเป็นอนาล๊อกไปซะทุกอย่าง หลักการทำงานของมันอย่าง ที่ผมได้อธิบายไปคร่าวๆแล้วมันจะมีเรื่องของ DSP ที่ใช้ในการ Upsamples อยู่เพียงเรื่องเดียว อย่างน้อยถ้าไม่ได้มายึดติดมาเสียง ที่ออกมานั้นต้องดิบๆ การ Upsamples ก็ไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายอะไร มันก็ช่วยให้เสียงเพลงที่ออกมานั้นมีคุณภาพดีขึ้นมาได้ครับ การ ใช้งานที่ ASUS Xonar Essence One จะเน้่นไปในรูปแบบของการต่อเครื่องเสียงเป็นหลัก อันนี้ผมก็ไม่ได้เอาความชอบส่วนตัว มาเป็นที่ตั้งกันครับ ลองดูได้จากการปล่อยออกของสัญญาณเสียงที่มี XLR หรือ Balanced Output แอมป์ถูกๆไม่มีให้เห็นแน่นอน และลูกปิดปรับระดับเสียงที่อยู่ตรงกลางที่มีขนาดใหญ่ แต่ว่าเป็นกลุ่มคนเล่นเครื่องเสียงที่ยังมีอารมณ์ส่วนตัวที่ชื่นชอบการครอบ หูฟัง ต้องการความเป็นส่วนตัวในการฟังเพลงจริงๆ ASUS Xonar Essence One ก็มีภาคขยายสัญญาณเสียงสำหรับหูฟังโดยเฉพาะ ที่รองรับการขับหูฟังสูงสุดได้ถึง 600 Ohm ส่วนเรื่องราคานั้นดูจากเนื้องาน ,อุปกรณ์ที่ใช้ข้างใน ,ลูกเล่น ,ความสามารถ และคุณภาพ เสียงที่ออกมา ราคานั้นคงไม่ถูกอย่างแน่นอน แต่ถ้าเป็นคนที่เล่นเครื่องเสียงหรือชอบของพวกนี้อยู่แล้วก็ซื้อมาลองเล่น ได้แบบไม่ต้องคิด อะไรกันมาก สำหรับวันนี้ผมขอจบ เพียงเท่านี้นะครับ ถ้าขาด ตกบกพร่อง ในจุดใดก็ขออภัยด้วย ไว้เจอกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดี... _/|\_

ASUS Xonar Essence One Special Thanks : ASUSTek Inc.

บทความนี้ทำขึ้นเพื่อส่งงานในรายวิชา 0012006 อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เท่านั้น

credit : www.overzoneclock.com

 

Memo Right FTM PLUS SSD 240GB

Memo Right FTM PLUS SSD 240GB

สวัสดีชาวโอเวอร์คล๊อกโซนในช่วงของเดือนเมษายนที่อาการร้อนมั๊กแล้วหลายๆคน ก็คงจ้องจะไปหา ที่เที่ยวสาดน้ำกันในวันสงกรานต์ แต่ถึงจะเป็นวันหยุดยาวใครไม่ได้ไปเที่ยวไหนก็ติดตามโอเวอร์คล๊อกส่วนในส่วน ของหน้าบทความและ Overclockzone TV ทางทีมงานก็จะหาอะไรมาให้ได้ชมอยู่กันอย่างต่อเนื่องเช่นเคยครับ ในวันนี้ผมก็ยังคงเป็นเรื่องของโซลิตสเตทไดร์ทหรือ SSD ที่หลายๆคนรุกกันดีและใช้งานกันอยู่ แต่สำหรับวันนี้จะ เป็นการรีวิว SSD จากผู้ผลิตเมโมรีที่มีชื่อว่า Memo Right ที่แบนร์ดนี้นั้นเค้าจะเน้นไปทางด้านการผลิตเมโมรี และ SSD ไปเฉพาะด้านอย่างเช่น ทางการทหาร ,อวกาศ ,อุตสาหรรม และอื่นๆ ก็เริ่มต้นถ้าใครยังไม่รู้จักแบนร์ด Memo Right นั้นมีความเป็นมาและมีความน่าสนใจเช่นไรบ้าง ก็สามารถเข้าไปอ่านกันได้ที่นี่กันก่อน สำหรับ SSD จาก Memo Right ที่ผมจะนำมารีวิวในวันนี้มีชื่อโมเดลว่า FTM PLUS กับความจุที่ สูงพอสมควรกับ 240GB เห็นจากโมเดลความจุแล้วก็ไม่ต้องเดาให้เสียเวลาว่ามันใช้ Controller SandForce SF 2281 ตามยุคสมัยนิยมของ SSD ประสิทธิภาพสูงอย่างยุคนี้ครับ โดยทาง Memo Right ได้ออกแบบเจัาตัวของ FTM PLUS ให้มีประสิทธิภาพสูงตามแบบฉบับของ Enterprise SSD ที่ไม่ได้เน้นถึงความแรงแบบหลุดออกไป นอกโลกมากนักที่ยึดถึงในเรื่องเสถียรภาพของการใช้งานได้เป็นอย่างดี โดยความเร็วในการอ่านข้อมูลสูงสุดที่มัน สามารถทำได้ที่ 550MB/s ส่วนการอ่านจะอยู่ที่ 500MB/s มาถึงการอ่านและเขียนข้อมูลแบบสุ่มที่ทำออกมาได้ดู น่าสนใจกับความเร็วสูงสุดที่ประมาณห้าหมื่น IOPS ก็ต้องมาติดตามในการทดสอบวันนี้ก็แล้วกันว่า Memo Right FTM PLUS 240GB จะมีประสิทธิภาพโดนใจกับผู้ใช้งานในบ้านเราได้แค่ไหนครับ

Package & Bundled

แพ็ค เกจนั้นเป็นไปในรูปแบบที่ดูโดดเด่นการเล่นสีดำลวดลาย ของคาร์บอนตัดกับสีเทาทำให้ดูสะดุดตาดีมาก ในกล่องจะมีคู่ มือการรับประกันหลังการขาย และถาดแปลงขนาดเป็น 3.5 นิ้ว

SSD Detail

ภาพรวม ภายนอกเมื่อมองแล้วก็เข้าใจกันดีว่านี้คือโซลิตสเตทไดรท์ขนาด 2.5 นิ้ว ที่พบเจอกันบ่อยมาในบนโลกนี้ โดยบอดี้ภายนอกเป็นอลูมิเนียมทั้งหมดที่ผิวของบอดี้นั้นได้นับการยิงผิวทราย มากันแบบเรียบร้อยดีมาก ฉลากด้าน หน้าที่บ่งบอกข้อมูลเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นถึงความเป็น FTM PLUS Series แบบเดียวกับธีมของตัวกล่องครับ

ฝาครอบด้านหลังที่ยังคงใช้อลูมิเนียมยิงทรายแบบเหมือนบอดี้หลัก ที่มีการติดป้าย Lable บ่งบอกข้อมูลเอาไว้

อินเตอร์เฟสการเชื่อมต่อ SATA มาตรฐานในฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 และ 3.5 นิ้ว

วันนี้ ผมขอไม่แกะข้างในให้ชม เนื่องจากมันมีสติกเกอร์ติดเอาไว้แล้วผมหาทางลอกออกไม่ได้ เท่าที่ผมหาข้อมูลมา ข้างในใช้ชิพ SSD Controller SandForce SF-2281 ที่เป็นอินเตอร์เฟสการเชื่อมต่อ SATA III 6GB/s แต่ก็ ยังคงรองรับการย้อนกลับไปเชื่อมต่อกับ SATA II 3GB/s ได้เช่นกันครับ ส่วนชิพ NAND Flash ข้างในนั้นตาม ที่ตลาดนิยมกันเป็น MLC 25nm ที่เป็นการพัฒนาร่วมมือระหว่าง Intel และ Micron โดยที่ใช้ใน FTM PLUS จะสกรีน Intel และเป็น Sync Flash เนื่องจาก Memo Right เน้นเอียงไปทางด้าน Enterprise คุณภาพของตัว NAND Flash ก็ใช้แบบที่มีคุณภาพสูงกันอยู่แล้ว สบายใจเรื่องความทนทานหายห่วงได้เลยครับกับ FTM PLUS

Memo Right FTM PLUS SSD 240GB Infomation

Argus Monitor

AIDA64

Capacity On OS

Microsoft Windows 7 Performance Rate

CrystalDiskMark 3.0.1

50MB
100MB

500MB

500MB

2000MB

4000MB

Anvil's Storage Utilities

Argus Monitor

SiSoftware Sandra

Diskmark

Conclusion !

นับว่าเป็นโซลิตสเตทไดรท์อีกตัวนึงที่มีความน่าสนใจ ในการทำไปใช้งานได้ทุกรูปแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนเรื่องราคาและหาซื้อได้ที่ไหนนั้นไม่ต้องถามผมเลย ครับ เนื่องจากผมไม่ทราบกันจริงๆ

บทความนี้ทำขึ้นเพื่อส่งงานในรายวิชา 0012006 อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เท่านั้น

credit : www.overzoneclock.com